Author |
Topic Search Topic Options
|
benzy
Senior Member
Joined: 26 Nov 2009
Location: Bergen
Online Status: Offline
Posts: 1740
|
Post Options
Quote Reply
Topic: แนวทางการศึกษาต่อในนอร์เวย์ Posted: 03 Mar 2010 at 19:07 - IP: 10.10.0.41  |
ถาม
Originally posted by da
อยากจะเรียนต่อโทที่ออสโล ถามหน่อยนะค่ะ
มีสาขาด้าน IT มั้ยค่ะ พอดีจบวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์มาค่าเทอมยุที่ประมาณเท่าไหร แบบไม่รวมค่าที่พัก เขารับสมัครช่วงไหนค่ะแล้วมีทุนเรียนฟรีมั้ยค่ะหลังจากวีซ่าผ่านเขาจะให้สิทธิ์เราเรียนภาษานอร์เวย์เจี้ยนก่อน 1 ปีมั้ยค่ะ หรือว่าไปแล้วเราได้เข้าเรียนในมหาลัยเลยอีกนิดนะค่ะ
งานไหนบ้างที่สามารถขอวีซ่าทำงานได้ ช่วยยกตัวอย่างหน่อยนะค่ะขอบคุณมากมายนะค่ะ ขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะ ขอบคุณค่ะ ขอบคุณค่ะ |
ตอบ
Originally posted by Sweetiemind
เอาข้อมูลเกี่ยวกับศึกษาในนอร์เวย์มาแปะเพิ่มให้ค่ะ ลองอ่านดูจะได้รู้ว่าต้องเริ่มติดต่อที่ไหนยังไง เวปนี้มีข้อมูลให้ศึกษาหลายด้าน เพื่อนๆที่หาข้อมูลต่างๆในนอร์เวย์ลองๆคลิกอ่านดูนะคะ
Schools and education
How can I apply for a course of study in Norway?Many study institutions in Norway have specfic study programmes for foreign students. If you wish to study in Norway, you should contact study institutions in Norway directly. A useful web site is Study in Norway.
As a foreign citizen, you are required to have a residence permit to study in Norway. Some study institutions will assist you in obtaining one of these, otherwise you should apply to the Directorate of Immigration (UDI) directly. UDI has information on its web pages regarding residence permits for students.
If you already have a Norwegian residence permit, you can apply for a place of study at a Norwegian institution of higher education via the UCAS - Universities and Colleges Admission Services (Samordna opptak). The application deadline for UCAS is 1. March.
How can I get my education recognised in Norway?
Contact NOKUT (Norwegian Agency for Quality Assurance in Education); they provide information on the recognition of foreign higher education, on evaluation and accreditation of Norwegian qualifications and a general overview of higher education in Norway.
ที่มา : http://www.norway.no/oss/#tema12 |
Originally posted by Sweetiemind
อีกเวปที่เป็นประโยชน์กับผู้ที่สนใจมาเรียนในนอร์เวย์ค่ะ
แตกลิ้งค์ออกมาจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับ Scholarships ต่างๆค่ะ
ป.ล. เคยอ่านเจอเรื่องนักเรียนทุน เขาบอกว่า นักเรียนไทยสามารถกู้ยืมเงินทุนเรียนในนอร์เวย์ได้ 70% ถ้าเรียนจบแล้วทำงานในนอร์เวย์ต่อ ต้องใช้ทุน 70% นั้นคืนให้กับรัฐบาลนอร์เวย์ค่ะ แต่ถ้าจบแล้วกลับไปทำงานที่ไทย ไม่ต้องใช้ทุนคืนค่ะ |
Originally posted by Sweetiemind
รายละเอียดงบประมาณค่าใช้จ่ายของนักเรียนทุนรัฐบาล
ทีศึกษาวิชาในประเทศนอร์เวย์
เริมใช้ตั$งแต่วันที 1 เมษายน 2552
นักเรียนระดับปริญญาตรี - เอก หน่วย : โครนนอร์เวย์
1. ค่าใช้จ่ายประจำเดือน ปี ละ 9 9,600.00
เดือนละ 8,300.00
2. ค่าธรรมเนียมในการศึกษา ตามทีจ่ายจริง ประมาณปี ละ 1 ,000.00
3. ค่าหนังสือและอุปกรณ์การศึกษา เหมาจ่าย ปี ละ 5 ,260.00
5. ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด ตามทีจ่ายจริง ปี ละ 1 ,000.00
6. เงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการดูแลนักเรียน ปี ละ 1 ,000.00
รวม 1 07,860.00
|
Originally posted by Sweetiemind
|
Originally posted by Gee
สวัสดีคะสมาชิกสะใภ้นอรเวย์ทุกท่านนะคะ เป็นสมาชิกใหม่ แต่ไม่ได้เป็นสะใภ้อะคะ อิอิ แอบเข้ามาอ่านเว็บนี้หลายครั้งแล้วคะ แต่ยังไม่ได้มีโอกาสมามีส่วนร่วม พอดีเห็นเว็บเรื่องเรียนป.โท เลยคิดว่าน่าจะมาช่วยแชร์ความรู้ให้ได้น่ะคะ ตอนนี้กำลังเรียนป.โท อยู่ที่ Norwegian School of Management ( BI ) ออสโลน่ะคะ ได้ทุนจากมหาวิทยาลัยคะ ในกรณีที่เรียนปริญญาตรีจบจากจุฬา หรือ ธรรมศาสตร์ จะได้ทุนเรียน ค่าที่พัก และค่าหนังสือครบทุกอย่างคะ ยังไงลองดูรายละเอียดตามลิ้งค์นี้นะคะhttp://wwwold.bi.no/Content/Article____67565.aspx แต่ต้องเรียนคุณดาเจ้าของกระทู้ว่าที่โรงเรียนที่จีเรียนอยู่เป็นสายธุรกิจน่ะคะ ไม่มีสายไอที ถ้าเน้นไอทีแนะนำ NTNU ที่ทรอนด์ไฮม์ น่ะคะ ดังที่สุดในประเทศแล้ว Link ข้างล่างนี้โชว์รายละเอียดของสาขาที่เปิดสอนที่ BI คะ http://wwwold.bi.no/Content/StudyOverviewOneCampus____62174.aspx?campus=BI+Norwegian+School+of+Management มีเกร็ดความรู้จะแนะนำจากประสบการณ์ที่เคยสมัครเรียนนะคะ คือ ให้พยายามติดต่อกับทางมหาลัยโดยตรง เพราะข้อมูลที่ทางมหาลัยระบุไว้ในเว็บไซต์ เช่น เรื่องคะแนนToefle หรือ GMAT, GRE บางครั้งสามารถยืดหยุ่นได้ อย่างเพิ่งน้อยใจว่าขาดคุณสมบัติบางอย่างแล้วคงไม่ได้เรียน เพราะว่าบางครั้งทางมหาลัยเองเขาก็อยากมีนักเรียนต่างชาติเพิ่มในห้องเรียนน่ะคะ ก็เลยแนะนำว่า ให้พยายามคุยกับทางมหาลัยโดยตรง เขียนเมล์ไปถามหรือโทรไปคุยได้ก็ดีคะ ขอบคุณคุณมายด์ด้วยคะ สำหรับความรู้ที่แบ่งปันให้คนอื่นๆ ได้บุญมากเลยนะคะเนี๊ยะ จี God Jul alle sammen... 
|
Originally posted by Gee
สวัสดีคะพี่ชาตช่วงนี้โรงเรียนเปิดเลยไม่มีเวลามาอ่านบอร์ดนี้เลย เค้ามีโค้วต้าให้นักเรียนธรรมศาสตร์กับจุฬาคะ แต่ไม่ทราบรายละเอียดทั้งหมด มะกี้แวะไปหาข้อมูลให้แต่เว็บล่ม ต้องรอแป๊บนึง จะเข้าไปดูให้ใหม่ วันนี้ได้คุยกับรุ่นน้องจากธรรมศาสตร์คนนึง มาเรียนทุนโครงการแลกเปลี่ยนน่ะคะ มาซะกลางหน้าหนาวเลย อิอิ จีจะหาข้อมูลให้เพิ่มเติมคะ ปริญญาโท เอก สอนเป็นภาษาอังกฤษคะ ยกเว้นสาขาบัญชีพี่จะลองเข้าไปอ่านรายละเอียดเองก็ได้นะคะ www.bi.no ลองsearch Thammasat คะ จะเจอรายละเอียดเลย แต่ตอนนี้เว็บล่มน่ะคะ อาจจะต้องรอนิดนึง หนับหนุนให้คนไทยได้เป็นเจ้าคนนายคนด้วยคนคะ อิอิ (ประมาณว่าอารมณ์ค้างมาจากกระทู้ Thailand for Nordmann ) ฮ่าฮ่าฮ่า
|
Originally posted by Gee
สวัสดีคะ ขอตอบพี่ชาตกับคุณMeawนะคะ ต้องออกตัวก่อนว่าตอบด้วยความรู้อันจำกัดอะนะคะ ขอแนะนำสองสถาบันคะที่อยู่ในออสโลคะ ส่วนสถาบันอื่นๆ พี่มายตอบไว้แล้วบนกระทู้ความเห็นต้นๆ น่ะคะ สถาบันแรก BI Norwegian School of Managent เน้นการบริหารจัดการ ส่วนสถาบันที่สองที่จะพูดถึงเน้นปรัชญา สังคม วิทยาศาสตร์และการแพทย์คะ หรือ UiO - University of Oslo หรือมหาลัยที่คุณ Meaw ถามถึงน่ะคะ อยู่ใกล้ๆ วัง ( อิอิ) ส่วนเรียนสาขาไหนที่ได้เป็นเจ้าคนนายคนนี่ จีก็หาอยู่เหมือนกันคะ 
1.BI Norwegian School of Management (เน้นการจัดการ บริหาร การตลาด คอมพิวเตอร์ ) มีหลายสาขาทั่วประเทศ แต่วิทยาเขตหลักอยู่ที่ออสโลคะ เป็นสถาบันการศึกษาเอกชนน่ะคะ ค่าเรียนเลยแพง แต่ก็มีโควต้าให้สำหรับประเทศกำลังพัฒนา สำหรับพี่ชาตอยู่นอรเวย์เกินสามปีแล้วน่าจะขอ Loan ได้นะคะ และอย่างที่คุณแฟนของคุณMeaw บอกน่ะคะ รับประกันงาน เพราะมหาลัยติดอันดัน 1ใน 20 ของยุโรป (ไม่รู้ตอนนี้อยู่อันดับเท่าไหร่แล้วคะ)
สาขาที่เปิดสอนในระดับปริญญาโท(Master of Science / 2 Years Program) มีดังนี้คะ (http://www.bi.no/BI-Startpage2/Programmes/Master-og-Science/)
- Leadership and Organizational Psychology
- Business and Economics
- Strategic Marketing Management
- Innovation and Entrepreneurship
- International Management ( เมื่อปีที่แล้วชื่อโปรแกรม International Marketing and Management )
- Financial Economics
- Political Economy
- Professional Accountancy ( เป็นปริญญาโทสาขาเดียวที่สอนเป็นภาษานอร์วีเจี้ยนคะ)
สาขาที่เปิดสอนสำหรับ Executive Programmes มีดังนี้คะ http://www.bi.no/BI-Startpage2/Programmes/MBA-and-Executive-Programmes/
- Executive MBA in Energy Management
- Executive MBA in Shipping, Offshore and Finance
- Executive MBA
- BI-Fudan MBA Program ( สาขานี้เปิดสอนที่มหาวิทยาลัยฟูดาน ที่เซี่ยงไฮ้ คะ )
- Executive Master in Energy Management
- Full-Time MBA
2. University of Oslo ( ปริญญาโทสอนเป็นภาษาอังกฤษคะ ) สาขาที่เปิดสอนป.โทเป็นภาษาอังกฤษมีดังนี้คะ http://www.uio.no/studier/emner/in-english.html
- Humanities
- Culture, Religion, Asian Languages, Asian and African Studies, European Languages, Literature, European and American Studies, History, Archaeology and Conservation Studies, Ibsen Studies, Media and Communication, Musicology, Philosophy, History of Art and Ideas, Greek and Latin, Scandinavian Studies, Celtic Studies, Linguistics and Textual Sciences
- Law
- Mathematics and Natural Sciences
- Biology, Chemistry, Entrepreneurship, Geoscience, Informatics, Mathematics, Mechanics, Statistics, Molecular Bioscience, Pharmacy, Physics, Theoretical Astrophysics, Technology Studies at Kjeller
- Medicine
- Dentistry
- Social Sciences
- Theology
- Education
หวังว่าจะพอเป็นประโยชน์บ้างคะ พี่ชาต หนูยังติดเรื่องโควต้านักเรียนธรรมศาสต์ เคยอ่านเจอแล้วแต่ตอนนี้หาทางกลับไปหน้านั้นไม่เจอ แต่จะพยายามหาให้อีกรอบคะ จี
|
Originally posted by Gee
น้องหวาย หลานพี่เป็นผู้หญิงนะคะ เค้าเคยได้ทุนมาเรียนAFS ที่นอรเวย์สองปีก่อนด้วย เห็นด้วยว่าคนสนใจเรียนทางทะเลน้อยมาก พี่จบวิชาโทพาณิชย์นาวีมาคะ เรียนจบก็ได้งานทำที่บริษัทเรือของนอรเวย์น่ะคะ ที่บริษัทก็มีแต่คนแสกนดิเนเวียน เพราะเราต้องยอมรับว่าความรู้ทางการเดินเรือและการค้าระหว่างประเทศนั้น ทางประเทศฝั่งนี้เค้าเจริญกว่าเรามากคะ ต้องให้ฝรั่งเป็นนาย (ส่วนหัวดำก็ทำงานหนักกว่าสองเท่า ฮ่าฮ่า พูดไปด้วยความน้อยใจ ) แล้วผู้หญิงเรียนสาขานี้น้อยมากคะ ตอนพี่ทำงานที่นี่ต้องไปฝึกงานต่างประเทศบ่อยมาก และต้องไปอยู่บนเรือจริงๆด้วย( ทั้งเมาคลื่น เมาแดดเลยอะ) เพราะงานสายนี้เป็นผู้ชายเสียมาก บริษัทพี่มีแต่พี่ๆ กัปตันเรือ และฝรั่งมาทำงาน Chartering นะคะ แล้วประเทศแถบ Scan ก็มีสายเดินเรือใหญ่ๆ เยอะมาก ชื่นชมหนูจังเลย เรียนOffshore Eng นี่ยากมากนะคะ บริษัทพี่มีแต่จ้างพวกฝรั่งเลยอะ สาขานี้ไม่ค่อยมีคนไทยเรียน เรียนแล้วก็ไม่เป็นที่ยอมรับ พี่ว่าถ้าหนูได้มาเรียนที่นี่จะดีมาก แล้วประเทศนี้เค้ายอมรับสถานะของผู้หญิงมากกว่าบ้านเราคะ ที่สำคัญงาน Offshore นี่เงินดีสุดๆ (โอ้ว แต่ว่าถ้าจะรับทุน เราต้องกลับเมืองไทยหลังเรียนจบน่ะคะ ) ส่วนตัวพี่แนะนำให้น้องหวายติดต่อกับทางมหาลัยก่อนสอบน่ะคะ ว่าเค้าใช้คะแนนอะไรกันแน่ พยายามอย่าเชื่อหน้าเว็บไซต์ทุกอย่าง เพราะบางครั้งกฎบางข้อมันหยวนได้คะ พี่แนะนำให้เขียนเมล์ไปถามเพื่อยืนยันข้อที่เราไม่แน่ใจจากมหาวิทยาลัยโดยตรง ไม่งั้นสอบไปแล้วไม่ได้ใช้คะแนนอาจจะทำให้เสียเวลา สายวิศวะไม่แน่ใจต้อง SAT หรือ GRE หรือป่าว ถามไปก่อนคะ ไม่ต้องกังวล เค้ามีหน้าที่ให้ความกระจ่าง ไม่ต้องกังวลว่าเราจะรบกวนเค้าหรอกคะ ดีใจนะคะ ที่เห็นรุ่นน้องมุ่งมั่นและวางแผนชีวิต โอกาสดีๆ มันมีอยู่เยอะน่ะคะ แค่เราใส่ใจกับมันสักนิดเราจะเจอมันคะ พี่ได้ทุนเรียนเพราะ(กล้า)เขียนจดหมายมาขอทุน เค้าไม่ได้ติดไว้หน้าเว็บหรอกคะว่าแจกทุนให้นักเรียนจากมหาลัยที่พี่จบ แต่พี่ไม่สน ถือแค่ว่าเราทำหน้าที่เรา เค้าจะให้หรือไม่ให้ก็เป็นหน้าที่ของเขานะคะ สุดท้ายได้มาหลายแสน( ทุนให้เปล่า) กระโดดดีใจกันทั้งบ้านเลยคะ เขียนความฝันให้ชัดเจน แล้วมีวินัยในตัวเองนะคะ ขอให้โชคดีคะ พี่เป็นกำลังใจให้ http://www.bunditinspire.com/dl/theluckiestman.pdf (ลองอ่านเว็บนี้ดูคะ สร้างกำลังใจสุดๆ เขียนโดยคุณบัณฑิต อึ้งรังษี น่ะคะ )
|
|
|
Benz,Bergen,1979
|
|
|
 |
benzy
Senior Member
Joined: 26 Nov 2009
Location: Bergen
Online Status: Offline
Posts: 1740
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 01 Apr 2010 at 03:24 - IP: 10.10.10.234  |
เนื้อหาบางส่วนของกระเท้านี้นำมาจากกระทู้ แนวทางการเรียน ฝึกงาน และการทำงานในนอร์เวย์ ซึ่งเปลี่ยนเป็น แนวทางการฝึกงาน และการทำงานในนอร์เวย์ แล้ว
|
|
Benz,Bergen,1979
|
 |
benzy
Senior Member
Joined: 26 Nov 2009
Location: Bergen
Online Status: Offline
Posts: 1740
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 01 Apr 2010 at 03:35 - IP: 10.10.10.234  |
Originally posted by benzy
ข้อมูลจากกระทู้ การยื่นเอกสารเพื่อขอเทียบวุฒิฯ ไทยกับนอร์เวย์
ถาม
Originally posted by Rose
เนื่องจากได้นำเอกสารการศึกษาที่จบจากมหาวิทยาลัย (เป็นภาษาอังกฤษ) ไปฝากที่โรงเรียนทำเรื่องขอเทียบวุฒิให้ แต่เจ้าหน้าที่บอกว่าต้องใช้ใบวุฒิฯ ที่เราจบมาเก่าๆ ด้วย ตั้งแต่ ประถม ม.ต้น ม.ปลาย จนถึงมหาลัย ทุกใบ ขอเน้นว่าต้องทุกใบ และถ้ามีใบรับรองงานที่เราเคยทำงานมาด้วยก็จะดี ถ้ามีไม่ครบเรื่องก็จะไม่ผ่าน ส่งเรื่องไปก็จะถูกตีคืน
ตรงนี้เลยอยากถามเพื่อนๆ ว่าใครมีประสบการณ์ขอเทียบวุฒิบ้างค่ะ แล้วต้องใช้เอกสารทุกใบเหมือนโรสรึเปล่า ใช้เวลารอผลนานไหม เพราะสงสัยว่าถ้าบางคนไม่ได้นำมาด้วยทุกใบหรือไม่ได้เก็บใบวุฒิเก่าๆ ไว้จะทำยังไง 
ตัวโรสเองมีวุฒิมาด้วยทุกใบค่ะแต่มีเฉพาะใบที่จบจากมหาวิทยาลัยเท่านั้นที่ขอมาเป็นภาษาอังกฤษ ส่วนใบอื่นๆ ยังเป็นภาษาไทยทั้งหมด ซึ่งตรงนี้ต้องชำระเงินเป็นค่าแปลที่หลังตอนรับผล อันนี้เพื่อนในห้องโดนมาแล้วเค้าเล่าให้ฟังว่า ต้องจ่าย 7,000 โครน เพราะของเค้าวุฒิเป็นภาษาบอสเนียทั้งหมดซึ่งเค้าตกใจมากเพราะไม่มีใครแจ้งล่วงหน้าว่าต้องมีค่าใช้จ่าย ซึ่ง 7,000 โครน ก็เยอะมากสำหรับเค้า และเราๆ นักเรียนที่ยังไม่มีงานทำ  |
ตอบ
Originally posted by tju2
จากประสบการณ์พี่พี่ใช้เอกสารตามนี้ค่ะ
-ใบปริญญาฉบับภาษาอังกฤษ(มหาลัยออกให้ค่ะ)
-ใบทรานสคริปเป็นภาษาอังกฤษอยู่แล้ว
-เอกสารชุดที่เรานำไปยื่นที่ตำรวจนอร์เวย์ ตอนเพื่อขอเรสฯ(ทั้งหมดเลยค่ะ)
-ของพี่ไม่ได้เอาวฺุฒิ ม.6 มาแต่เขียนอธิบายเหตุผลว่าตอนสมัครเรียนมหาวิทยาลัยเราได้ใช้วุฒิ ม.6 ยื่นเพื่อสมัครเรียนแล้วค่ะ
-สำเนาพาสปอร์ท และวีซ่าให้ส่วนราชการที่นี้รับรอง(ไม่ใช่เราเซ็นต์สำเนาถูกต้องเองนะ)
-แล้วเขาขอเพิ่มทะเบียนสมรสฉบับจริงภาษาไทย พี่ก็ส่งไปให้
-พอเสร็จเขาก็ส่งฉบับจริงคืนให้ทั้งหมด
แต่ควรทำหนังสือนำพร้อมบอกรายการเอกสารที่เราส่งไปด้วยว่าอะไรบ้าง เวลาเขาคืนจะได้เช็คได้ คนตรวจเอกสารก็จะได้รู้ว่าเขาต้องการอะไรเพิ่มเติมค่ะ
|
Originally posted by Rose
ขอบคุณค่ะพี่แตงสำหรับข้อมูล ตอนนี้กำลังเถียงกันกับสามีเรื่องนี้อยู่เลยเพราะเค้ายืนยันว่าทุกคนต้องมีใบวุฒิเก่าๆ เพราะเค้าเองก็ยังต้องมีทุกใบ
แปลว่าตอนนี้พี่แตงได้รับผลการเทียบวุฒิแล้วใช่ไหมค่ะ พี่รอนานไหม กี่เดือน รบกวนอีกทีนะจ๊ะ 
อ่อ!! เจอกันที่โรงเรียนใน Drammen วันจันทร์นะจ๊ะ  |
Originally posted by beste venn
เหมือนพี่แตงทุกอย่างค่ะ ยกเว้น ใบประกอบโรคศิลป์
ไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ประมาณสองเดือน(แล้วแค่เคส) ได้ผลการเทียบวุฒิ ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเทียบวุฒิค่ะ ฟรี!!!
ตอนนี้ jobber som sykepleier på sykehjem เรียบร้อยโรงเรียนนอร์คค่ะ |
Originally posted by sasitorn1220
สวัสดีค่ะ พี่ ๆ สะใภ้นอร์เวย์ แอ๊ดนะคะ
ขอรบกวนหลายปัญหามากค่ะ
แอ๊ดกำลังจะไปเรียนต่อที่นอร์เวย์ เดือน พฤษภาคม 53 นี้ค่ะ ป.ตรี แอ๊ดจบบริหารธุรกิจการบัญชี มีทรานสคริปภาษาอังกฤษเรียบร้อยแอ๊ดต้องเตรียมเอกสารอะไรอีกบ้าง ในการติดต่อ nokut.
พยายามอ่านแบบฟอร์มเค้าแล้วไม่เข้าใจเพราะมีแต่ภาษอังกฤษ เวอร์ชั่นภาษาไทยมีมั้ยค่ะช่วยแนะนำด้วย
1.ไม่ทราบว่าต้องเอาวุฒิ ปวช. และ ปวส. การบัญชีไปด้วยมั้ย ตัวจริงหายหมดแล้วทำยังไง
แฟนบอกว่าต้องเอาไปหมดค่ะ ต้องได้รับรองสำเนาถูกต้องจากโรงเรียนด้วย(แอ๊ดไม่เข้าใจ)?
2.เราต้องเรียนภาษานอร์เวย์+วัฒนธรรม 1 ปี ก่อนจะเทียบวุฒิเรียนอย่างอื่นหรือสาขาที่เราต้องการใช่มั้ย หรือว่าเราเรียนสาขาที่เราสนใจเช่นบัญชีได้เลย หรือเรียนควบคู่กันได้มั้ย
3.เรื่องเทียบวุฒิหมายถึงเราสามารถนำวุฒิ ป.ตรี ของเราเรียนสาขาการบัญชีที่นอร์เวย์ได้รึเปล่าค่ะ
แล้วต้องใช้เวลาเท่าหลักสูตรปกติของเค้ารึเปล่า?
4.พี่ ๆ ที่ไปอยู่นอร์เวย์ส่วนใหญ่เค้าทำงานอะไรกันค่ะ แอ๊ดไม่เกี่ยงงานขอให้มีงานทำ แต่ไม่รู้ว่าจะสมัครงานเกี่ยวกับอะไร
5.ถ้ายังไม่ได้เรียนภาษาเราจะสามารถทำงานอะไรได้ค่ะ ยกตัวอย่างให้หน่อยได้มั้ยค่ะ
6.ถ้ากำลังเรียนภาษาเราจะทำงานไปด้วยได้มั้ย เวลาเรียนกี่ชั่วโมง /วัน หรือมีเรียน part time รึเปล่าค่ะ
7.พี่ ๆ ค่ะรายได้ที่โน่นเป็นยังไง ดีกว่าบ้านเรามากมั้ย ไม่ค่อยเชื่อแฟนเท่าไหร่ อยากรู้จากคนไทยด้วยกันเท่านั้น เพราะตอนนี้แอ๊ดรับราชการอยู่ ทำเกี่ยวกับการเงินบัญชี ถ้าจะไปต้องลาออกจากราชการ เงินเดือนแอ๊ดก็ไม่เยอะประมาณ หมื่นกว่า แต่งานบ้านเรามันก็หนักใช้เดือนชนเดือน ก็หมดไม่มีเก็บ ความรับผิดชอบก็เยอะ ลาบ่อยก็ไม่ได้ เจ้านายก็น่าเบื่อ
ถ้ามันคุ้มแอ๊ดก็อยากไป แต่ถ้าพอกินพอใช้ไม่มีเก็บเลยแอ๊ดก็กลัวเหมือนกัน ตอนไปแรก ๆ พี่ ๆ เป็นยังไง ทั้งเรื่องเรียนและเรื่องทำงาน น่ากลัวมั้ย
8.แอ๊ดอยากทำงานเกี่ยวกับการทำอาหาร แอ๊ดทำอาหารไม่เป็นเลยพอจะมีงานที่ต้องอยู่ในครัวมั้ย เผื่อจะได้ฝึกฝีมือ แต่ก่อนไปก็ว่าจะไปเค้าคอร์สเรียนทำอาหารก่อน เพราะกินอาหารเค้าไม่ค่อยได้ เบื่อมากๆ พี่ๆ รู้จักใครที่ทำงานเป็นกุ๊กบ้างมั้ย อยากรู้จัก
9.แอ๊ดจะไปอยู่ stavanger อยากรู้จักเพื่อนคนไทย เผื่อจะได้ติดต่อไว้พอจะมีอีเมลล์ให้แอ๊ดบ้างมั้ยค่ะ 
ตอบแอ๊ดเป็นข้อๆ จะขอบคุณมากนะคะ ฝากด้วยค่ะ
แอ๊ด |
Originally posted by tju2
สวัสดีค่ะ พี่ ๆ สะใภ้นอร์เวย์ แอ๊ดนะคะ
ขอรบกวนหลายปัญหามากค่ะ
แอ๊ดกำลังจะไปเรียนต่อที่นอร์เวย์ เดือน พฤษภาคม 53 นี้ค่ะ ป.ตรี แอ๊ดจบบริหารธุรกิจการบัญชี มีทรานสคริปภาษาอังกฤษเรียบร้อยแอ๊ดต้องเตรียมเอกสารอะไรอีกบ้าง ในการติดต่อ nokut.
พยายามอ่านแบบฟอร์มเค้าแล้วไม่เข้าใจเพราะมีแต่ภาษอังกฤษ เวอร์ชั่นภาษาไทยมีมั้ยค่ะช่วยแนะนำด้วย
เวอร์ชั่นภาษาไทยไม่มีค่ะ มีภาษาอังกฤษ นอร์กและอีกประมาณ 2-3 ภาษาของยุโรปค่ะ
1.ไม่ทราบว่าต้องเอาวุฒิ ปวช. และ ปวส. การบัญชีไปด้วยมั้ย ตัวจริงหายหมดแล้วทำยังไง
แฟนบอกว่าต้องเอาไปหมดค่ะ ต้องได้รับรองสำเนาถูกต้องจากโรงเรียนด้วย(แอ๊ดไม่เข้าใจ)?
ต้องเอาไปหมดค่ะ และควรขอแบบภาษาอังกฤษมา หรือถ้าแปลก็ให้สถานทูตไทยในนอร์เวย์รับรองก็ได้ค่ะ
ได้เอกสารฉบับภาษาอังกฤษมาแล้ว ให้ทางโรงเรียน หรือหน่วยราชการอื่นของนอร์เวย์ ถ่ายเอกสารและรับรองสำเนาให้ค่ะ(ไม่ต้องหวังดีถ่ายไปเองนะคะ เป็นหน้าที่เขาค่ะ)ก่อนส่ง NOKUT
แต่ถ้าไม่ได้เอาวุฒิมาต้องเขียนอธิบายค่ะเหตุผลค่ะ
2.เราต้องเรียนภาษานอร์เวย์+วัฒนธรรม 1 ปี ก่อนจะเทียบวุฒิเรียนอย่างอื่นหรือสาขาที่เราต้องการใช่มั้ย หรือว่าเราเรียนสาขาที่เราสนใจเช่นบัญชีได้เลย หรือเรียนควบคู่กันได้มั้ย
สามารถทำได้ค่ะ แต่ต้องติดต่อนาฟก่อนนะคะ รู้สึกพี่จะตอบไว้ในทู้ เรื่องเรียนและฝึกงานค่ะ
3.เรื่องเทียบวุฒิหมายถึงเราสามารถนำวุฒิ ป.ตรี ของเราเรียนสาขาการบัญชีที่นอร์เวย์ได้รึเปล่าค่ะ
แล้วต้องใช้เวลาเท่าหลักสูตรปกติของเค้ารึเปล่า?
เอาวุฒิป.ตรีเทียบวุฒิแล้วก็ได้ ป.ตรีค่ะ เท่าหลักสูตรปกติของที่นี้แต่หลักสูตรปริญญาตรีที่นี้จะ 3 ปีค่ะ
4.พี่ ๆ ที่ไปอยู่นอร์เวย์ส่วนใหญ่เค้าทำงานอะไรกันค่ะ แอ๊ดไม่เกี่ยงงานขอให้มีงานทำ แต่ไม่รู้ว่าจะสมัครงานเกี่ยวกับอะไร
ช่วงแรกห็หาเกี่ยวกับงานความสะอาด หรืองานดูแลเด็กที่บานนาฮาเก้นดูก่อนนะคะแล้วมีลู่ทางอื่นห็ค่อยหาดู เพราะภาษาสำคัญมากในการหางาน โดยเฉพาะงานที่ทำในออฟฟิศค่ะ
5.ถ้ายังไม่ได้เรียนภาษาเราจะสามารถทำงานอะไรได้ค่ะ ยกตัวอย่างให้หน่อยได้มั้ยค่ะ
6.ถ้ากำลังเรียนภาษาเราจะทำงานไปด้วยได้มั้ย เวลาเรียนกี่ชั่วโมง /วัน หรือมีเรียน part time รึเปล่าค่ะ
เวลาเรียนต้องดูช่วงเวลาตามที่น้องไปติดต่อทางโรงเรียนนะคะ แล้วก็วางแผนเอาว่าเราควรจะเลือกเรียนช่วงเวลาไหน
7.พี่ ๆ ค่ะรายได้ที่โน่นเป็นยังไง ดีกว่าบ้านเรามากมั้ย ไม่ค่อยเชื่อแฟนเท่าไหร่ อยากรู้จากคนไทยด้วยกันเท่านั้น เพราะตอนนี้แอ๊ดรับราชการอยู่ ทำเกี่ยวกับการเงินบัญชี ถ้าจะไปต้องลาออกจากราชการ เงินเดือนแอ๊ดก็ไม่เยอะประมาณ หมื่นกว่า แต่งานบ้านเรามันก็หนักใช้เดือนชนเดือน ก็หมดไม่มีเก็บ ความรับผิดชอบก็เยอะ ลาบ่อยก็ไม่ได้ เจ้านายก็น่าเบื่อ
ถ้ามันคุ้มแอ๊ดก็อยากไป แต่ถ้าพอกินพอใช้ไม่มีเก็บเลยแอ๊ดก็กลัวเหมือนกัน ตอนไปแรก ๆ พี่ ๆ เป็นยังไง ทั้งเรื่องเรียนและเรื่องทำงาน น่ากลัวมั้ย
จะบอกว่าไงล่ะ เงินดีถ้ามีงาน แต่ที่สำคัญงานหายากมากกกกกกค่ะ ก็ถ้าไม่เกี่ยงงาน งานอะไรก็ทำก็ใช้เวลาประมาณ 7-1 ปีในการได้งาน ต้องเตรียมความพร้อมตรงนี้ให้มากๆหน่อย มีเงินสำรองไว้ด้วยนะคะ
8.แอ๊ดอยากทำงานเกี่ยวกับการทำอาหาร แอ๊ดทำอาหารไม่เป็นเลยพอจะมีงานที่ต้องอยู่ในครัวมั้ย เผื่อจะได้ฝึกฝีมือ แต่ก่อนไปก็ว่าจะไปเค้าคอร์สเรียนทำอาหารก่อน เพราะกินอาหารเค้าไม่ค่อยได้ เบื่อมากๆ พี่ๆ รู้จักใครที่ทำงานเป็นกุ๊กบ้างมั้ย อยากรู้จัก
น้องแอ็ดเรียนทำอาหารมาดีเลยค่ะ เรียนแบบที่ได้ใบประกาศด้วยนะ เพราะที่นี้ทำงานด้านอาหารต้องมีใบอณุญาติทำอาหารค่ะ
9.แอ๊ดจะไปอยู่ stavanger อยากรู้จักเพื่อนคนไทย เผื่อจะได้ติดต่อไว้พอจะมีอีเมลล์ให้แอ๊ดบ้างมั้ยค่ะ
มาแล้วก็มีเองค่ะ
ตอบแอ๊ดเป็นข้อๆ จะขอบคุณมากนะคะ ฝากด้วยค่ะ
แอ๊ด |
Originally posted by Nidnoi_Aalesund
พี่แตงย้ายสำมะโนประชากรไปอยู่ Stavanger แล้วเหรอคะนั่น เผื่อรอบหน้าน้องบินไปเยี่ยมคุณยายน้องเอมิลอีกเราคงได้เจอกันนะคะพี่แตง
ถึงน้องแอ๊ดนะคะ วุฒิการศึกษาระดับปวช.และปวส.ถ้าตัวจริงหายก็กลับไปยังสถานศึกษา ไปทำเรื่องขอทรานคริปใหม่(ภาษาอังกฤษ)การขอเอกสารใหม่นี้คงต้องใช้เวลา ดังนั้นควรเริ่มกลับไปทำเรื่องขอโดยเร็วที่สุดก็ดีนะคะ
 จนถึงวันนี้พี่ก็ยังไม่ได้เทียบวุฒิเลยคะน้องโรส  (บ่งบอกถึงความกระตือรือร้นในการใช้ชีวิตในนอร์เวย์ของพี่เลยชิมะคะ  ) |
Originally posted by beste venn
ตอบโจทย์ข้อ7 คุณแอ๊ดค่ะ
เงินดีมากๆค่ะ ถึงแม้จะหักภาษีแล้วก็ยังเหลือเยอะอยู่ดี
(ตัวดิฉันเอง)นึกย้อนกลับไปสมัยรับราชการอยู่รพ เงินเดือน รวมกันทั้งปี ยังได้น้อยกว่า เงินเดือนที่นี่หนึ่งเดือนค่ะ
เพื่อนๆแถวStavanger เยอะค่ะ ไม่ต้องกลัวเหงา ว่าแต่ อยู่คอมมูนไหนคะนี่ |
Originally posted by puttycats
อันนี้ก็เพิ่งยื่นรอบสองไปเมื่อวันอังคารค่ะ ก็เลยพอจะแนะนำได้ เขาเอาเอกสารตั้งแต่มัธยมขึ้นไปค่ะ ทุกใบต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ และให้ทางคุณครูที่สอนเรา เป็นคน แสตมป์ และ เซ็นต์ให้น่ะค่ะ ถ้าปริญญาตรี หรือโท ต้องมี ใบรับรองจากทางมหาวิทยาลัยด้วยน่ะค่ะ ขอแนะนำว่าส่งไปแปลที่เมืองไทยค่ะ แสกนส่งทางอีเมล น่ะค่ะ ภายใน 1 อาทิตย์ได้รับเอาสาร เพราะนี้แปลมารวมค่าส่ง แค่ 3000 บาทค่ะ แปลตั้งแต่ ม.3 ปวช ปวส ป.ตรี ใบรับรอง ป.ตรี และใบรับรอง ป.โทร และค่าส่ง 250 บาท ค่ะ รวมใน 3000 แล้วน่ะค่ะ ค่าส่ง ติดต่อได้ที่นี่ เลยค่ะ เขาบริการดี
primeinter99@hotmail.com
+66814021210 ชื่อคุณ ต่อ น่ะค่ะ ชื่อบริษัท Prime Inter การชำระเงินก็สามารถโอนให้เขาได้ทางธ.กรุงเทพค่ะ เขาไว้ใจลูกค้า และงาน ก็ออกมาดีมากค่ะ (อันนี้ไม่ได้ค่านายหน้าน่ะค่ะแต่เขาทำงานได้ดีจริงๆ)
ก็วันนี้ถ้าว่างสามารถแสกน ส่งอีเมลล์ไปได้เลยค่ะ พรุ่งนี้ก็โทรไปคุยกับเขา เขาก็จะส่งราคาค่าแปลมาให้
ว่าเราโอเคมั้ย ไม่โอเค เขาก็ไม่ว่าอะไรค่ะ ลองดูน่ะค่ะ เพราะดิฉันก็เพิ่งไปรับเอกสารมาแล้วส่งไป Nokut เพราะเขาจะมีใบแนบมาให้ดิฉันว่าต้องทำอะไรบ้างค่ะ เลยรู้ ครั้งแรกดิฉันส่งแค่จบสูงสุด แต่มันไม่ใช่เขาตีกลับมาถึงได้รู้ค่ะ
|
Originally posted by Nidnoi_Aalesund
น้องโรสมีความจำเป็นที่จะต้องเทียบวุฒิและหรือใช้เอกสารในการเทียบวุฒิด่วนเหรอคะ ถ้าไม่ได้มีโครงการณ์ที่จะต้องใช้เอกสารดังกล่าวด่วนพี่แนะนำให้รอเวลากลับไทยไปขอเอกสารจากทางสถาบันเป็นภาษาอังกฤษจะดีกว่าไม๊คะไม่ต้องเสียตังค์ด้วย แต่ถ้าจะต้องใช้ด่วนก็ตามลำบากเลยคะน้อง  |
Originally posted by Mint_eye
พอดีว่าเพื่อนมิ้นเค้าก็มีปัญหาเรื่องเทียบวุฒิเช่นกัน มิ้นเลยอยากอธิบายตามที่มิ้นเข้าใจระบบโรงเรียนที่นี่ และเปรียบเทียบกับระบบโรงเรียนของบ้านเรานะคะ
(ถ้าผิดพี่ๆคนไหนช่วยแก้ด้วยนะคะ) เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับคนที่อยากจะเอาลูกมาเข้าเรียนที่นี่ และสำหรับคนที่อยากจะเรียนต่ออ่ะค่ะ
โรงเรียนที่นี่จะแบ่งเป็น Grunnskolen นั่นคือ โรงเรียน Barneskolen ซึ่งเค้าจะเริ่มเข้าเรียนกันตอนอายุหกขวบ (โรงเรียนประถมบ้านเราน่ะแหละ) ใช้เวลาเรียน 7 ปี(เรียนเยอะกว่าของไทยหน่อย เพราะว่าของไทยเด็กจะเริ่มเข้าเรียนตอนเจ็ดขวบ ตามรัฐบาลประกาศแต่เด็กที่เมืองไทยหลายคนก็เข้าเรียนก่อนอยู่ดี อิอิ)
หลังจากเด็กจบจาก Barneskolen ก็จะไปเรียนต่อที่โรงเรียน Ungdomsskolen .(ม. ต้น) ใช้เวลา 3 ปี ซึ่งทางรัฐบาลนอร์เวย์ถือกำหนดว่าเด็กทุกคนมีหน้าที่ต้องเรียนให้จบ Ungdomsskolen หลังจากนั้นจะเรียนต่อหรือไม่ก็ได้ และเด็กจะได้รับการประเมินผลการเรียนตอนเริ่มมัธยมต้นที่แหละ (ไม่หมือนบ้านเราให้เกรดตั้งแต่ ประถมหนึ่ง)
หลังจากจบจาก Grunnskolen (มัธยมต้น) แล้ว เด็กหลายๆคนก็จะมาเรียนต่อที่ Videregående skole ซึ่งทางนอร์เวย์เค้าก็แบ่งการเรียนเป็นคล้ายๆกับของเราค่ะ คือสายสามัญ และสายอาชีพ ซึ่งสายสามัญเค้าจะเรียกว่า Studieforberedende (เทียบกับมัธยมปลายที่บ้านเรา) ซึ่งใช้เวลาเรียน 3 ปี ในสายสามัญนั้นจะเรียนเฉพาะเนื้อหาสาระของวิชาต่างๆ(เรียนเหมือนบ้านเราแป๊ะเลย) หลังจากจบแล้วเราสามารถเอาวุฒิอันนี้ไปเรียนต่ออนุปริญญาได้ แต่เราไม่สามารถเอาวุฒินี้ไปทำงานประกอบอาชีพเฉพาะทางได้เลยค่ะถึงแม้ว่าเราจะสามารถทำงานเฉพาะทางได้ อย่างเช่นทำงานซ่อมต่างๆ เพราะเค้าต้องเอาใบประกอบวิชาชีพเพื่อทำงานค่ะ ส่วนมากเด็กที่จบสายนี้จะทำงานประจำห้างต่างๆ หรือร้านสะดวกซื้อ เพื่อทำงานเก็บเงิน หรือเบรกก่อนจะเรียนต่อ และสายอาชีพเค้าจะเรียนว่า Yrkesfaglig ( จะได้วุฒิปวช) ซึ่งจะใช้เวลาเรียนในสายอาชีพนี้เป็นเวลาสาม ถึงสี่ปี แล้วแต่คน(เรียนเฉพาะภาคปฏิบัติ) ถ้าเราจบสายอาชีพนี้แล้วเราสามารถออกมาทำงานได้เลย หรือสามารถเรียนเพิ่มในภาคทฤษฎีอีกหนึ่งปีเพื่อเอาวุฒิ ปวส. เพื่อนำไปเรียนต่อขั้นสูงขึ้นก็ได้
หลังจากเราเรียนจบ Videregående skole (เรียนจบสายสามัญ หรือ ป วส) ก็จะสามารถเรียนต่อที่ Høyskole (เทียบกับบ้านเราก็อนุปริญญา)จะใช้เวลาเรียนสองหรือสามปีขึ้นแล้วต่อคน ส่วนมากแล้วคนที่นอร์เวย์จะเรียนแค่อนุปริญญา เพราะจะสามารถทำงานได้เลย และได้เงินเดือนสูงกว่าคนที่จบ Videregående skole และบางคนก็จะเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยเมื่อพร้อม เพื่อได้รับปริญญาตรี (เรียนสามปี) ปริญญาโท (เรียนสองปี) และปริญญาเอก (เรียนสองถึงห้าปี)
นี่แหละคือระบบการศึกษาที่นอร์เวย์ ส่วนมากแล้ว ถ้าเด็กย้ายตามมารดามาเค้าจะจัดห้องให้ตามระดับอายุของเด็ก ไม่ใช่ระดับการศึกษาของเด็กที่เคยเรียนมาก่อนค่ะ ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมเด็กหลายๆคนถึงอยู่ห้องระดับต่ำกว่าเดิม เพราะคนไทยนิยมให้เด็กเรียนก่อนวัยเรียน
พูดถึงเรื่องเทียบวุฒิกับ Nokut (ตามประสบการณ์ของมิ้นนะคะ)
ก่อนอื่น มิ้นเข้าไปอ่านในเวบ www.Nokut.no ถึงรายละเอียดต่างๆ รู้สึกว่าที่ nokut เนี๊ยะเค้าจะเทียบวุฒิให้สำหรับปริญญาตรีเท่านั้น
ถ้าใครที่จบมาต่ำกว่าระดับปริญญาตรี ต้องไปเรียนหรือไปสอบที่โรงเรียน Videregående skole ก่อนเพื่อเอาวุฒิมาเสียก่อน อาจจะไม่ใช้ระยะเวลาเต็มเพราะเราเรียนมาจากไทยแล้ว เค้าอาจจะให้เราเรียนเพียงบางวิชาที่เรายังอ่อนอยู่ หรือเราไม่ได้เรียนมา หลังจากที่เราได้วุฒิมาแล้ว เราก็สามารถเอาไปสมัครงานหรือเรียนต่อได้ (มันสำคัญอย่างยิ่งสำหรบคนที่จบ ปวช หรือ ปวส มา เพราะเราสามารถเอาไปประกอบวิชาชีพได้เลย) แต่มีข้อแม้ว่าเราต้องได้ภาษานอร์คเสียก่อน (มิ้นไม่แน่ใจว่าเค้ายอมรับระดับไหน) หลังจากนั้น มิ้นก็เตรียมเอกสารได้แก่
ใบกรอกข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาของเราและข้อมูลส่วนตัวเรา (สามารถดาวโหลดได้ในเวบ)
สำเนาถ่ายเอกสารพาสปอร์ตหน้าแรกและหน้าที่เราสแตมป์วีซ่าปัจจุบัน (สามารถถ่ายเอกสารไปที่ไปรษณีย์ และต้องให้เค้าเซนต์ให้ ห้ามเซนต์เอง)
ใบวุฒิและทรานสคริปของเราตัวจริงเป็นภาษาอังกฤษ (หรือถ้าเราไม่มีภาษาอังกฤษเราสามารถแปลได้และให้ทางกงศุลรับรองเอกสารสำเนาถูกต้อง) มีเอกสารดังนี้ มัธยมต้น มัธยมปลาย ปริญญาตรี ปริญาโท (ถ้ามี) ปริญญาเอก (ถ้ามี)
ระยะเวลาการขอเทียบวุฒิ (ของมิ้นหนึ่งเดือน) หนึ่งเดือน ถึงสี่เดือน ขึ้นกับมหาลัยที่เราจบมาจากไทย และเอกสารว่าเราพร้อมมากแค่ไหน
ส่วนเรื่องทะเบียนสมรส ถ้าใครยังไม่ได้เลขประจำตัวประชาชนต้องถ่ายเอกสารสำเนาพร้อมลายเซนต์เจ้หน้าที่ถ่ายอกสารส่งไปให้เค้าด้วย แต่ถ้าใครได้เลขประจำตัวประชาชนแล้วไม่ต้องส่งไปค่ะ เขียนแค่เลขประจำตัวประชาชนไปก็พอ
หมายเหตุ เราต้องส่งตัวจริงทรานสคริปและใบวุฒิไปให้เค้าแล้วเค้าจะส่งกลับมาให้ราทีหลัง หลังจากเค้าก๊อปปี้ไว้แล้ว ส่วนถ้าใครไม่มีวุฒิ มัธยมต้น และมัธยมปลาย ลองเขียนอธิบายไปให้เค้าดูว่าเราใช้วุฒิเรียนต่อปริญญาตรี ให้เค้าเชคกับทางต้นสังกัด หรือทางมหาลัยเราดูได้ อาจจะใช้ระยะเวลานานเพราะเค้าต้องเชคทางต้นสังกัด (แต่ไม่แน่ใจว่าเราสามารถทำได้ เพราะว่าตอนนี้มีข่าวว่าปลอมวุฒิเยอะมาก) ถ้าจะให้ดีเราขอมาจากไทยจะดีกว่าค่ะ หรือไม่ก็ให้ทางบ้านไปขอวุฒิมาให้แล้วแปลส่งมาให้ที่นี่ เพื่อปองกันการปฏิเสธการเทียบวุฒิจะได้ไม่ต้องเสียเวลา
อิอิ ไม่แน่ใจว่าถุกผิดประการใด พี่ๆในห้องช่วยเพิ่มเติมได้ค่ะ หวังว่าจะเป้นประโยชน์นะคะ
|
Originally posted by Mint_eye
ขอเพิ่มเติมนะคะ สำหรับใครที่ได้เรียนด้านอาหาร หรือด้านช่างต่างๆมา ที่เป็นคอร์สต่างๆ เราไม่สามารถใช้วุฒิที่เราเรียนมาที่เป็นคอร์สต่างๆที่นี่ได้เลย ( ถ้าใครสมัครงานแบบไม่รู้จักเจ้าของกิจการหรือหัวหน้าแผนกนะคะ) เพราะจะไม่เป็นที่ยอมรับของที่นี่ และงานที่นี่ต้องมาใบประกอบวิชาชีพว่าเราสามารถทำงานได้และได้รับอนุญาติว่าให้ทำงานได้แล้วเท่านั้น เราจะเรียกว่า Fagbrev แต่เราสามารถนำใบประกาศต่างๆรวมทั้งใบผ่านงานที่เราได้นั้น ไปเรียนต่อที่ videregående skole เพื่อให้เค้าพิจารณาว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้าง เพื่อที่เค้าจะได้จัดห้องเรา หรือ แนะแนวเราถูก เพื่อให้เราสามารถได้ fagbrev ของที่นี่ ซึ่งเค้าจะยอมรับให้เราเข้าไปทำงานได้ค่ะ เพราะงานบางงานต้องมีใบประกาศเฉพาะทางเท่านั้นจึงจะทำงานที่นี่ได้ ไม่สามารถทำงานได้เนื่งจากประสบการณ์ (ถ้าไม่รู้จักเจ้าของกิจการ) แต่เราสามารถเอาประสบการณ์ไปเรียนรู้เพิ่มเติมในโรงเรียนพื่อให้ได้ใบประกาศในการทำงานต่อไป และมีชาวต่างชาติที่ชำนาญการในสาขาต่างๆศึกษาต่อเพื่อให้ได้ใบประกาศ การเรียนไม่มีคำว่าสายค่ะ (แต่คนที่จบพยาบาลหรือผู้ช่วยพยาบาลมาจะโชคดีค่ะเนื่องจากเป็นสาขาที่ขาดแคลนที่นี่ ส่วนมากเข้ามาแล้วจะได้ทำงานเลย หรืองานแย่งตัวไปทำค่ะ ว่าแล้วมิ้นก็อยากกลับไปเรียนใหม่แฮะ อิอิ)   |
Originally posted by beste venn
ได้งานง่าย แต่เครียดskip หายเลยน้องเอ้ย มันมีหลายๆอย่างที่ต้องปรับตัวและเรียนรู้ (เอาละ ป้าจะบ่นให้ฟังแล้วน่ะ)
บางครั้งพี่ก็ท้อแท้น้องมิ้น เพราะว่า เขาให้เราตำแหน่งพยาบาล เราต้องทำได้ทุกอย่างในตึกคนไข้ เครื่องไม้เครื่องมือ เขาก็ไม่เหมือนบ้านเรา ไหนจะระบบ รูปแบบการทำงาน ปรับตัวกับเพื่อนร่วมงาน ไหนจะกังวลว่าเขาจะยอมรับเราไหม ยิ่งวันไหนที่ต้องเป็นหัวหน้าเวร แล้ว ขึ้นกับผู้ช่วย หรือ assistant ที่เป็นคนนอร์ค ยิ่งเครียดหนัก เพราะเราต้องพยายามให้เขายอมรับเรา ภาษานี่แหละ ตัวดีเลย เขาชอบพูดภาษาท้องถิ่นกัน ทำเอาเรางง
หลายอย่างประดังประเดเข้ามา บางครั้งคนไข้ ก็ทำเราสูญเสียความมั่นใจไปเลยก็มี
บางที การทำงานที่ไม่ต้องรับผิดชอบอะไรมาก ก็ดีเหมือนกันน่ะ ว่าไหม ฝากความคิดถึงให้คุณปลาบู่ด้วย อิอิ เกี่ยวกันไหมหว่า 
|
Originally posted by tju2
จริงๆเรื่องเทียบวุฒิเราทำเรื่องได้เองเลยค่ะน้องโรสเพราะเวลาติดขัดอะไรเจ้าหน้าที่เขาจะโทรหาเราโดยตรงหรือมีหนังสือมาหาเราเราจะได้รู้ด้วยค่ะ เอาไว้เป็นประสบการณ์ด้วย ใจเย็นๆค่ะ ถ้าเขาตีกลับอ่ะดีเราจะได้ไม่ต้องเสียตังค์เยอะ ถ้าเขาไม่ตีกลับอ่ะเขาเกิดแปลให้เราเสร็จสับต้องเสียเงินบานไม่คุ้มค่ะ เอาใจช่วยๆพี่จะบอกว่าพี่อ่ะพยายามทำเองทุกเรื่อง เรื่องเดียวที่ทำแล้วยังไม่ได้คือไปเสนอหน้าพรีเซ็นต์ตัวเองเพื่อขอฝึกงาน ทำงาน แต่อ่ะนะเขาก็ยังไม่ให้โอกาส ความสวยยังไม่เตะตาต้องใจ เฮ้อออออออออถอนหายใจอีกรอบ
เห็นสองสาวให้ฉายานามสามีของกันและกันแล้วน่ารักเชียว พ่อปลาบู่น้องมินท์นี่เล่าทีมาหน่อยได้ป่ะ พ่อเทพบุตรนี้รู้ที่มาที่ไปหุหุ คุณน้องพยาบาลคราวหลังเวลาคนไข้พูดภาษาถิ่นไม่ต้องพูดนอร์สค่ะ ภาษาไทยเลย  ด่าเป็นภาษาไทยแล้วยิ้มไปด้วยรับรองเขาไม่รู้หรอกค่ะเออคุณน้องพยาบาลค่ะ น้องเป็นคนดวงดีมากถูก LOTTO ตั้ง 6 ตัวเลยเหรอเป็นพี่กรี๊ดสลบเลยล่ะค่ะ
|
Originally posted by puttycats
ไม่เป็นไรค่ะ คุณโรส ถ้าส่งไปแล้ว ก็อีเมลล์ ไปถามเขาเลยค่ะ ว่าเราส่งเอกสารออกไปวันที่นี้น่ะ เราจะทราบผลเมื่อไหร่ ภายในหนึ่งเดือนก็จะได้จดหมายกลับมาว่าคุณต้อง แก้ไขอะไรบ้าง แต่ไม่ต้องส่งเอกสารตัวจริงของเราไปน่ะค่ะ เพราะตอนนี้เขาไม่รับประกันเอกสารตัวจริงแล้วค่ะ ว่าจะได้คืน เสียดายที่ไม่ได้เก็บเอกสารที่ Nokut ส่งมาให้ไม่อย่างนั้นจะได้แสกนแล้วส่งเมลล์ไปให้ค่ะ ดีที่สุดคือการติดต่อโดยตรงกับ Nokut น่ะค่ะ จะได้ไม่เสียเวลา อีเมลล์ไปถามเลยค่ะเราอยากรู้อะไร ภาษาอังกฤษก็ได้ค่ะ ถ้า นอร์คไม่ถนัด เขาจะตอบกลับเร็วมากค่ะ ที่เจอมาส่งไปไม่เกิน 1 ชม ตอบกลับมาเลยค่ะ แต่ถ้าไม่อยากเสียเวลาก็เตรียมแปลเอกสารไว้ก่อนก็ได้ค่ะ เพราะช่วงที่เราแปลเอกสาร Nokut ตรวจสอบเอกสาร พอเราได้รับจดหมายให้เราส่งเอกสารเพิ่ม คราวนี้เราส่งได้ทันที ไม่ต้องรอ จะได้เร็วค่ะ เพราะเราต้องตามล่าหาลายเซ็นต์อีกหลังจากที่ได้รับเอาสารหลังจากการแปล เพราะต้องถ่ายเอกสารทุกอย่าง ลองดูน่ะค่ะ เผอิญทำเองทุกอย่างก็เลยทราบค่ะ เพราะไม่มีคนแนะนำให้ค่ะ ไม่มีแฟนข้างกลายเหมือนคุณโรส อิจฉาจัง...... :-) |
|
|
|
Benz,Bergen,1979
|
 |
alaila
Senior Member
Joined: 15 Dec 2009
Online Status: Offline
Posts: 376
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 10 Apr 2010 at 03:43 - IP: 85.165.34.35  |
เอาข้อมูลระบบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่นอร์เวย์มาฝาก เป็นภาษานอร์เวย์นะคะ
Videregående opplæring
Fylkeskommunene finansierer videregående opplæring og har stor frihet til å organisere opplæringen. Elevene kan velge mellom yrkesforberedende eller studieforberedende program.
Rett til videregående opplæring for ungdom (16-24 år) Ungdomsretten til videregående opplæring må tas ut i løpet av en sammenhengende periode på fem år, (seks når opplæringen blir gitt i bedrift) og innen utgangen av det året vedkommende fyller 24 år (opplæringsloven § 3-1).
Rett til videregående opplæring for voksne (fra 25 år) Voksne som har fullført grunnskolen eller tilsvarende, men som ikke har fullført videregående opplæring, har etter søknad rett til videregående opplæring for voksne (opplæringsloven § 4A-3). De som ikke har benyttet seg av ungdomsretten, eller som har sluttet underveis slik at de ikke kan sies å ha fullført videregående opplæring, får ny rett til videregående opplæring som voksen fra og med det året de fyller 25 år.
Opplæringen for voksne skal tilpasses behovet til den enkelte. Det kan i praksis bety kveldsundervisning, fjernundervisning og mulighet til å ta opplæringen på kortere tid.
Hva er videregående opplæring?
Den videregående opplæringen bygger på grunnskoleopplæringen. Videregående opplæring fører fram til studiekompetanse, yrkeskompetanse eller kompetanse på lavere nivå.
Videregående opplæring gis vanligvis som 3 år i skole eller som 2 år i skole og 2 år i bedrift.
Studieforberedende eller yrkesfaglig opplæring?
Videregående opplæring er inngangsporten til yrkeslivet og til videre studier. I videregående opplæring skiller vi derfor mellom yrkesfaglig og studieforberedende opplæring.
Yrkesfaglig opplæring fører fram til et yrke og gir yrkeskompetanse med eller uten fag- eller svennebrev. Velger du yrkesfaglig opplæring, har du muligheten til å gå ut i yrkeslivet etter 35 år. Du har også muligheten til å ta påbygging til generell studiekompetanse.
Den studieforberedende opplæringen legger mest vekt på teoretisk kunnskap og gir studiekompetanse. Velger du studieforberedende opplæring, kan du ta videre studier etter 3 år.
Utdanningsprogram
Videregående opplæring består av 12 forskjellige utdanningsprogram, 3 studieforberedende og 9 yrkesfaglige. Det første året velger du utdanningsprogram, det andre og tredje året velger du programområde innen utdanningsprogrammet. De 12 utdanningsprogrammene er:
3 studieforberedende
- Idrettsfag
- Musikk, dans og drama med programområdene
- Studiespesialisering med programområdene
- formgivingsfag
- realfag
- språk, samfunnsfag og økonomi
9 yrkesfaglige
- Bygg- og anleggsteknikk
- Design og håndverk
- Elektrofag
- Helse- og sosialfag
- Medier og kommunikasjon (med mulighet for studieforberedende Vg3)
- Naturbruk (med mulighet for studieforberedende Vg3)
- Restaurant- og matfag
- Service og samferdsel
- Teknikk og industriell produksjon
+ Påbygging til generell studiekompetanse
Vg1, Vg2 og Vg3
Videregående trinn 1 (Vg1)Det første året i videregående opplæring kalles videregående trinn 1 (Vg1). Her finnes det 12 forskjellige utdanningsprogram å velge mellom. Du kan søke på tre forskjellige utdanningsprogram, og du har rett til å komme inn på ett av disse. Opplæringen foregår i skole.
Videregående trinn 2 (Vg2)Andre året kalles videregående trinn 2 (Vg2) og foregår også i skole. Dette året begynner du å spesialisere deg ved å velge mellom de programområdene som finnes innenfor utdanningsprogrammet du valgte på Vg1. Det finnes også noen få særløp hvor du går direkte til 3 års opplæring i bedrift etter Vg1. I studieforberedende utdanningsprogram kan du på Vg2 velge mellom forskjellige programfag etter bestemte regler.
Videregående trinn 3 (Vg3)
Etter Vg2 følger videregående trinn 3 (Vg3), enten i skole eller som 2 års opplæring og verdiskaping i bedrift (læretid). I yrkesfaglige utdanningsprogram velger du mellom programområder som bygger på det Vg2 du gikk på, og du spesialiserer deg nå ytterligere. I studieforberedende utdanningsprogram fortsetter du i det programområdet du valgte på Vg2, men velger fordypning i programfag eller nye programfag etter bestemte regler.
Noen få yrkesfaglige programområder har Vg3 i skole før de avsluttes med 1,5 eller 2 års læretid i bedrift. Hvilke dette gjelder, vil du kunne se under utdanningsprogram og programområder.
Oversiktskart
Oppbyggingen av videregående opplæring er vist på oversiktskartet. Av fargebruken går det tydelig fram om opplæringen foregår i skole (gult) eller bedrift (grønt). De blå boksene viser hvilken kompetanse du har oppnådd etter fullført og bestått opplæring.

Studiekompetanse
Generell studiekompetanse
Generell studiekompetanse er det faglige grunnlaget for å søke opptak til universiteter og høyskoler. Studiekompetanse i seg selv gir ingen garanti for at du kommer inn, du må også ha gode nok karakterer i henhold til de krav som universitetet eller høyskolen stiller.
Hvordan oppnår du generell studiekompetanse?
Du kan oppnå generell studiekompetanse ved å fullføre og bestå Vg1, Vg2 og Vg3 fra følgende utdanningsprogram:
- Idrettsfag
- Musikk, dans og drama
- Studiespesialisering
- Medier og kommunikasjon (studieforberedende Vg3)
- Naturbruk (studieforberedende Vg3)
- Et yrkesfaglig utdanningsprogram (Vg1 og Vg2 eller oppnådd yrkeskompetanse) + Vg3 påbygging til generell studiekompetanse
Spesiell studiekompetanse
Noen studier stiller i tillegg krav om spesiell studiekompetanse, det vil i de fleste tilfeller si at du må ha hatt spesielle fag (vanligvis realfag). Enkelte studier har opptaksprøve.
Yrkeskompetanse
Å ha yrkeskompetanse vil si at man er utdannet til å utøve et yrke. Ved å velge programområder fra de 9 yrkesfaglige utdanningsprogrammene kan du oppnå forskjellige former for yrkeskompetanse:
Yrkeskompetanse med fag- eller svennebrevOpplæring i de såkalte lærefagene fører fram til fag- eller svennebrev, etter bestått fag- eller svenneprøve.
- I håndverkspregede fag heter det svennebrev og svenneprøve, for eksempel har en smed svennebrev.
- I andre fag heter det fagbrev og fagprøve, for eksempel har en elektriker fagbrev.
I lærefag foregår opplæringen både i skole og bedrift, over totalt fire år eller mer. Les mer under opplæring i bedrift.
Yrkeskompetanse uten fag- eller svennebrev
Opplæring i de fagene som ikke hører inn under lærefagene, fører fram til yrkeskompetanse uten fag- eller svennebrev.
- For eksempel har en helsesekretær yrkeskompetanse uten fag- eller svennebrev.
Yrkesutdanningen er lagt opp som tre års opplæring i skole, ofte med innlagte praksisperioder.
Videre utdanning
Innenfor flere fagområder gir yrkeskompetanse deg grunnlag for videre utdanning på fagskole. Fag- eller svennebrev gir grunnlag for videre utdanning for ta mesterbrev.
Med påbygging til generell studiekompetanse kan du oppnå generell studiekompetanse.
ที่มา www.vilbli.no
|
|
Vanskelighet er en utfordring ความยากลำบากเป็นสิ่งที่ท้าทาย
|
 |
kamsai_jung
Newbie
Joined: 24 Jun 2010
Online Status: Offline
Posts: 4
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 06 Jul 2010 at 16:33 - IP: 180.180.26.90  |
ความรู้เยอะมากค่ะ ขอบคุณทุกประสบนะคะ
|
|
ืHello .. nice to meet you ^^
|
 |
sasitorn1220
Groupie
Joined: 20 Feb 2010
Location: thailand
Online Status: Offline
Posts: 47
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 27 Jul 2010 at 20:20 - IP: 84.210.32.94  |
สวัสดีค่ะ
ฝากผู้รู้ช่วยตอบทีนะคะ
แอ๊ดมาวีซ่า เซเว่นเดย์ค่ะ พอมาถึงก้อไปสถานีตำรวจแต่เค้าไม่ให้อะไรเรากลับมาเลย มีแต่รับทราบว่าเรามาถึงแล้ว เค้าบอกว่าต้องรอให้เรสผ่านก่อนถึงจะออกเอกสารให้ ก้อเลยยังไม่ได้ไปติดต่อโรงเรียนเลยค่ะ แฟนบอกว่าทำอะไรไม่ได้ต้องรอเรสอย่างเดียว จริงรึเปล่าค่ะ อุตส่าห์รีบมากะว่าจะได้เรียนพร้อมพื่อนเดือนสิงหานี้ ก็เลยอด แอ๊ดรอเรสนานมาก ยื่นตั้งแต่ัวันที่ 7 เดือนมกรา 53 จนป่านนีเดือนที่ 7 แล้วยังไม่ผ่านเลย แฟนโทรไปถาม udi เค้าก็ไม่สามารถบอกได้ เค้าบอกกฎหมายใหม่เลื่อนเป็นรอเรสถึง 11เดือน ถ้ารอขนาดนั้นแล้วเราจะทำยังไง
พี่ ๆ ช่วยตอบทีค่ะระหว่างรอเรส ไปติดต่อโรงเรียนเข้าเรียนก่อนได้มั้ย เคยมีใครทำรึเปล่า แฟนพาใปติดต่อโรงเรียนเค้าบอกว่าต้องจ่ายเงินเอง ไม่รุ้เป็นที่เดียวกับเพื่อน ๆ รึเปล่าค่ะ แอ๊ดอยู่ timoteivien stavanger ค่ะ มีใครอยุ่ใกล้ๆ บ้างมั้ย จะได้มีเพื่อน กำลังหาขอมูลไปถียงแฟนอยู่ค่ะ ช่วยตอบด้วยนะคะ
แอ๊ด
|
|
Addy
|
 |
Nidnoi_Aalesund
Senior Member
Joined: 28 Nov 2009
Location: Norway
Online Status: Offline
Posts: 4516
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 28 Jul 2010 at 00:19 - IP: 83.243.235.229  |
sasitorn1220
เรื่องลงเรียนก่อนได้รับเรสฯ นั้น จะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเรียนเองหรือไม่คงแล้วแต่คอมมูน ถ้าทางโรงเรียนแจ้งมาแล้วว่าต้องจ่ายค่าเรียนเองก็หมายความว่าต้องจ่ายเองหละคะ
ในกรณีที่เราลงทะเบียนเสียค่าเรียนเองไปแล้ว แต่ได้รับเรสในระหว่างที่เรียนอยู่ ทางโรงเรียนก็จะคืนเงินให้ในส่วนที่เหลือ เช่น จ่ายค่าเรียนสำหรับหนึ่งเทอมไปแล้วแต่เรียนไปได้เพียงแค่หนึ่งสัปดาห์ผลวีซ่าออก ทางโรงเรียนก็จะคิดค่าเรียนเพียงแค่หนึ่งสัปดาห์เท่านั้น
ถ้าคุณแฟนพอจะมีกำลังรับผิดชอบค่าเรียนได้ก็ลงเรียนไปเถอะคะ จะได้ไม่ต้องเสียเวลา ปล่อยให้เวลาวิ่งผ่านไปโดยปล่าวประโยชน์ ยังไงก็ขอให้ได้รับผลเรสฯ ในเร็ววันนี้แล้วกันนะคะ
|
|
Nidnoi1968, Langevåg Ålesund, Norway
|
 |
sasitorn1220
Groupie
Joined: 20 Feb 2010
Location: thailand
Online Status: Offline
Posts: 47
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 28 Jul 2010 at 13:28 - IP: 84.210.32.94  |
คิดเหมือนกันว่าจะเรียนก่อนค่ะ คงรอเรสไม่ไหว แต่ถ้าเค้าจ่ายตังค์คืนในส่วนที่เหลือก็ยิ่งดีมาก ๆ ไม่มีปัญหายุติธรรมดีค่ะ ถ้าไปเรียนก้อดีเหมือนกันจะได้มีเพื่อน
ขอบคุณสำหรับคำตอบค่ะ
แอ๊ด
|
|
Addy
|
 |
LekTrondheim
Senior Member
PR สะใภ้ นอร์เวย์
Joined: 27 Nov 2009
Location: Norge
Online Status: Offline
Posts: 519
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 30 Aug 2010 at 13:48 - IP: 80.202.23.62  |
พี่ป้อมกำลังวุ่นวายเรื่องติดต่อที่เรียนดอกเตอร์ที่นอร์เวย์ หลังจากได้คำแนะนำจากคู่หมั้นว่าควรติดต่อยูอะไรดี อะไรดังบ้างก้อติดต่อไปที่ BI U. ,Oslo แต่เพื่อที่เรียนดอกเหมือนกัน บอกว่าให้เช็คกับ กพ.ด้วยว่าเค้ารับรองวิทยฐานะของ U. หรือไม่(เฉพาะคนที่อยากกลับมาทำงานเมืองไทย หรือ เผื่อเอาไว้ว่าจะกลับมาใช้ชีวิตกันที่เมืองไทยกับคุณแฟนนะคะ)
มหาวิทยาลัยใน Norway ที่กพ.รับรองวิทยฐานะ ตามนี้เลยค่ะ แต่ต้องบอกก่อนนะว่า website กพ. outofdateมากๆ อาจต้อง update กับเจ้าหน้าที่โดยตรงอีกครั้งค่ะ
ประเทศ |
 |
สถานศึกษา |
NORWAY |
|
|
THE OSLO SCHOOL OF ARCHITECTURE | |
NORWAY |
|
|
NORWAY |
|
|
NORWAY |
|
|
THE NORWEGIAN, UNIVERSITY OF SCIENCE AND TECHNOLOGY | |
NORWAY |
|
|
NORWAY |
|
|
THE NORWEGIAN STATE ACADEMY OF MUSIC IN OSLO | |
NORWAY |
|
|
THE NORWEGIAN SCHOOL OF ECONOMICS AND BUSINESS ADMINISTRATION IN BERGEN | |
NORWAY |
|
|
THE AGRICULTURAL UNIVERSITY OF NORWAY AT OSLO | |
NORWAY |
|
|
THE NORWEGIAN COLLEGE OF VETERINARY MEDICINE | |
NORWAY |
|
|
THE NORWEGIAN UNIVERSITY OF SPORT AND PHYSICAL EDUCATION IN OSLO | |
ของพี่เอง approach ที่ BI U. ไปปรกกฎว่าไม่มีใน list ถ้าไม่มีจริงๆ สงสัยได้เรียน online กับU. ที่อังกฤ ษแหงม
|
|
Oslo ชั่วคราว
|
 |
POMPOM
Senior Member
Joined: 27 Aug 2010
Location: Oslo/Holmestran
Online Status: Offline
Posts: 291
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 01 Sep 2010 at 16:02 - IP: 110.168.98.5  |
ขอบคุณพี่เล็กที่ให้เครดิตกับจำเลยค่า
ตอนนี้สงสัยเรื่องขั้นตอนการเทียบวุฒิที่ nokut คือป้อมจบตรี ที่ ม.เชียงใหม่ และจบโท.ที่ม.เกษตร
แล้วกำลังจะไปอยู่ oslo เดือนมกราคม ค่ะเข้าไปดูที่ web nokut แล้ว รับรองทั้งสองมหาลัยค่ะ
อยากถามทุกท่าบว่าควรจะยื่นเอกสารไปก่อนเลยดีมั้ยระหว่างที่ยังอยู่ที่นี่ แต่ยังไม่ได้ apply มหาลัยเป็นเรื่องเป็นราว
ลยยังไม่ได้การตอบรับจากยูเพราะว่ารอผลสอบ ielts อยู่ทีนี้ควรยื่น nokut ตอนไปที่นั่นแล้วหรือว่า
ยื่นได้เลย แล้วใช้เวลานานมั้ยคะ
คุณจี พี่ป้อมสงสัยว่าถ้า apply ยูแล้ว จ่ายเงินเรียนก่อน แล้วค่อยขอทุน quota scheme ทีหลังได้มั้ยคะ
ประเด็นคือว่าระหว่างที่รอ เรส ไม่อยากเสียเวลาค่ะ มีแผนสองคือเรียน Executive MBA ที่ BI University
ที่คุณจีเรียนอยู่ แต่เป็น part-time 18 เดือน ทีนี้ part-time เนี่ยจะขอ student visa เพื่อออก res permit
ได้มั้ยคะ
สับสน สับสน เมื่อคืนนั่ง search ข้อมูลทั้งคืน ยังไม่ได้นอนเลย แงแง
|
|
Every sunset gives you one day less to live , Every sunrise always gives you one day more for hope
|
 |
LekTrondheim
Senior Member
PR สะใภ้ นอร์เวย์
Joined: 27 Nov 2009
Location: Norge
Online Status: Offline
Posts: 519
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 01 Sep 2010 at 20:27 - IP: 80.202.23.62  |
การเทียบวุฒิของมหาวิทยาลัยในเมืองไทย จะใช้เวลาประมาณ 4 เดือน (คร่าวๆ นะคะ เร็วหรือช้าอาจจะแตกต่างกันไป) ส่วนจะยื่นก่อนได้หรือไม่นั้น คงต้องมาทำเรื่องที่นอร์เวย์ หรือถ้าไม่อยากรอนานก็คงต้องให้ว่าที่คุณน้องนำเอกสารทั้งตัวจริงและสำเนา ไปรับรองก่อน (สามารถรับรองได้ที่โรงเรียนเรียนภาษาของคอมมูน ห้องสมุดของคอมมูน มหาวิทยาลัย และสถานที่ราชการต่างๆ ทั้งนี้และทั้งนั้นที่นอร์เวย์นะคะ พี่ไม่แน่ใจว่าเค้าจะรับเอกสารที่รับรองโดยกระทรวงการต่างประเทศรึเปล่า เพราะไม่เคยทำค่ะ) เอกสารที่ต้องรับรองก็มีตั้งแต่ระดับมัธยมปลาย มหาวิทยาลัย (ทั้งใบทรานสคริป และใบปริญญาบัตรค่ะ) และก็กรอกแบบฟอร์มที่เราพิมพ์ออกมาจากเว็บไซด์ของ Nokut ค่ะ แล้วก็ส่งไปที่ Nokut ตามที่อยู่ในเว็บไซด์ค่ะ
|
|
Oslo ชั่วคราว
|
 |
POMPOM
Senior Member
Joined: 27 Aug 2010
Location: Oslo/Holmestran
Online Status: Offline
Posts: 291
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 01 Sep 2010 at 20:29 - IP: 110.168.98.5  |
ชอบคุณพี่เล็กอีกครั้งค่า
|
|
Every sunset gives you one day less to live , Every sunrise always gives you one day more for hope
|
 |
Geegie
Senior Member
Joined: 02 Apr 2010
Online Status: Offline
Posts: 284
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 02 Sep 2010 at 03:47 - IP: 84.208.111.54  |
Originally posted by POMPOM
คุณจี พี่ป้อมสงสัยว่าถ้า apply ยูแล้ว จ่ายเงินเรียนก่อน แล้วค่อยขอทุน quota scheme ทีหลังได้มั้ยคะ
ประเด็นคือว่าระหว่างที่รอ เรส ไม่อยากเสียเวลาค่ะ มีแผนสองคือเรียน Executive MBA ที่ BI University
ที่คุณจีเรียนอยู่ แต่เป็น part-time 18 เดือน ทีนี้ part-time เนี่ยจะขอ student visa เพื่อออก res permit
ได้มั้ยคะ
สับสน สับสน เมื่อคืนนั่ง search ข้อมูลทั้งคืน ยังไม่ได้นอนเลย แงแง |
ถาม : จ่ายเงินเรียนก่อน แล้วค่อยขอทุน quota scheme ทีหลังได้มั้ยคะ ข้อนี้ไม่แน่ใจนะคะ แต่คิดว่าหากพี่จะได้ทุนหลังจากจ่ายเงินเทอมแรกหรือปีแรกไปแล้ว จากนั้นจึงทำเรื่องขอทุน พี่อาจจะได้ทุนไม่เต็มจำนวน ก็คือจะได้เฉพาะของปีถัดไปน่ะคะ พี่ป้อมน่าจะลองเมล์ไปถามทางมหาลัยโดยตรงเลยดีกว่าคะ เพราะแต่ละที่พิจารณาไม่เหมือนกันคะ จีได้มีโอกาสคุยกับน้องคนไทยที่มาแต่งงานที่นอรเวย์ เขาถือวีซ่า Resident Permit จึงสามารถของเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาได้คะ ( Study loan ) แต่น้องเขาก็เน้นว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะสามรถขอได้ เพราะเพือ่นของเขาเป็นคนฟิลิปปินส์มาอยู่ก่อนน้องเขาต้องหลายปี ลองขอLoan ไปแต่ว่าทางรัฐเขาไม่อนุมัติให้่น่ะคะ เขาต้องดูเหตุผลอื่นๆ ประกอบกันหลายอย่าง แต่พี่ป้อมน่าจะลองถามเขาดูนะคะ
ถาม : part-time เนี่ยจะขอ student visa เพื่อออก res permit ได้มั้ยคะ อ้างจากลิงค์ abroadeducaion.com ผู้ที่สามารถขอวีซ่านักเีรียนจะ้ต้องเป็นนักเรียนที่เรียน Full Time น่ะคะ กรณีพาร์ทไทม์ไม่สามารถขอวีซ่านักเรียนได้ พี่ป้อมลองอ่านรายละเีอียดเพิ่มเติมได้คะ ++ Qte++ International students will be granted a residence permit for study purposes if they have been enrolled for full time study at any recognized educational institutions in Norway. Besides, students need to present the proof that they could support their study and life during their stay in Norway. Also, students must be show that they have made health insurance. The application fee to apply for the visa is NOK 1100 (about USD 180). ++Unqte++ PS. BI Norwegian School of Management ไม่ได้เป็น University นะคะ เป็น Private Owned (แต่พี่ป้อมไม่ต้องตกใจนะคะ เพราะระบบของ BI ดีมากๆ คะ ได้รับการยอมรับด้านธุรกิจจากนักธุรกิจ อาจารย์ก็เก่งๆ ทุกคนคะ ( แอบประชาสัมพันธ์) 1. Norwegian University of Life Sciences 2. Norwegian University of Science and Techonology (NTNU) 3. University of Agder 4. University of Bergen 5. University of Oslo 6. University of Stavanger 7. University of Tromso
จีว่าพี่ป้อมลองโทรคุยกับทางมหาลัยที่พี่สนใจน่าจะช่วยพี่ประหยัดเวลาได้มากเลยนะคะ(แต่เปลืองเงินค่าโทร อิอิ ) จะได้คนที่ตอบคำถามได้ตรงใจเรา ไม่ต้องนอนดึกเป็นแพนด้า โทรมาก่อน แล้วก็อาจจะค่อยส่งคำถามอื่นๆ มาทางอีเมล์ค่ะ ดีใจที่จะมีรุ่นพี่ป.เอกมาให้ถามคำถามแล้าวววว
|
|
Oslo --- ธรรมชาติของจิตใจมันเข้าข้างตัวเอง โบราณพูดว่า เรามักจะเห็นความผิดของคนอื่นเท่าภูเขา ความผิดของตนเท่ารูเข็ม มันเป็นความจริงอย่างนั้นด้วย เราจึงต้องระวังความรู้สึกนึกคิดของตัวเองให้มาก ๆ
|
 |
POMPOM
Senior Member
Joined: 27 Aug 2010
Location: Oslo/Holmestran
Online Status: Offline
Posts: 291
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 02 Sep 2010 at 04:34 - IP: 110.168.98.5  |
น้องจี ขอบคุณค่ะที่มาให้ความกระจ่างเรื่อง EMBA เพราะว่าที่ยูตอบพี่มาว่าแค่ใช้ vitsiting visa ก้อ apply ได้
บ้าป่าวเนี่ย พี่ป้อมกะว่าจะยอมเสียตังคต์ไป take course เพื่อให้ได้ student visa ระหว่างรอ res เลยต้องตัดประเด็น
เรื่อง EMBA ออกไป
คุณเฮียเค้าก้อแนะนำ BI U, ตั้งแต่แรกแล้วค่ะ พอบอกเค้าไม่มีใน list ของกพ. แล้วส่งลิงค์ของ กพ. ไปให้ดู
เค้าว่าบางมหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้รับการยอมรับใน norway อีกต่างหาก แอบเซ็ง
เดือนหน้าพี่จะไปนอร์เวย์ค่ะ จะไปคุยกับ BI ก่อนถ้าไม่ได้เรื่องค่อยไปคุยกับ U. of Oslo
เรื่องทุนอ่ะพี่ทราบค่ะว่าไม่ใช่ทุกคนที่ได้ทุน เท่าที่รู้ว่าฝรั่งส่วนใหญ่ ถ้าไม่เป็นอาจารย์ก้อไม่ค่อยต่อเอก นี่กำลังยุให้แฟน
ต่อเอกด้วยจะได้ไม่หัวโตคนเดียว 5555 สำหรับเรื่องเรียนพี่เกรงว่าจะเป็นฝ่ายถามน้องซะมากกว่า ทอ้งไปนานมากค่ะ
กะว่าจะไป brush up ซะหน่อย แต่ตอนนี้ไปแปรงฟันดีกว่า lol!!!
|
|
Every sunset gives you one day less to live , Every sunrise always gives you one day more for hope
|
 |
Geegie
Senior Member
Joined: 02 Apr 2010
Online Status: Offline
Posts: 284
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 03 Sep 2010 at 04:34 - IP: 84.208.111.54  |
สวัสดีคะพี่ป้อม
เข้ามาแก้ไขข้อมูล อ้างจากโพสต์อันก่อนที่จีเขียนไปว่า BI เป็น Private Owned จริงๆ แล้วจีเข้่าใจผิด ได้รับความกระจ่างจากเพื่อนๆ ว่า BI ไม่ใช่ Private Owned แต่จัดตั้งขึ้นมาในลักษณะ Foundation คล้ายองค์กรต่างๆ ที่เราได้ยินว่ามีวัตถุประสงค์ต่างกันไป ส่วนวัตถุประสงค์ของ BI คือเป็นสถานศึกษาและวิจัย ดังนั้นการเรียนที่นี่จะเน้นการวิจัยเอามากๆ แค่เขียนรายงานเรื่องนึงก็ต้องทำเหมือนเขียนวิทยานิพนธ์ ต้องใช้ระเบียบวิธีแบบการวิจัยทั้งหมด
จีว่าดีมากนะคะ ที่พี่จะมาคุยกับทางมหาลัย อย่างน้อย เขาเห็นหน้าเราแล้ว เราได้มีโอกาสพูดคุย ตัวต่อตัว จะทำให้การติดต่อกันภายหลังง่ายขึ้นคะ ต่อไปเวลายกหูโทรศัพท์ว่าโทรจาก Thailand เขาจะนึกหน้าเราออก ทุกอย่างจะง่ายขึ้นด้วย Connection
ส่วนเรื่องมหาลัยไหนนั้น BI กับ UiO ( Uni of Oslo) เขาจะมีจุดเด่นต่างกัน ถ้าพี่ป้อมอยากเรียนเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจ BI จะได้รับการยอมรับมากๆ (ในนอเวย์และประเทศใกล้เคียง ) ส่วน UiO เค้าจะดังเรื่องการแพทย์ ทันตแพทย์ แต่ก็มีสาขาเศรษฐศาสตร์เหมือนกันคะ
กรณีพี่อยากเรียนป.เอกที่ BI พี่ต้องส่งร่างหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่พี่อยากเขียน และส่งให้มหาลัย ถ้าเขาสนใจหัวข้อที่พี่จะเขียน พี่จะได้รับเลือกให้ได้ทุนเรียนเป็นเวลา 4 ปี และเขาจะหางานให้ทำ ( มีให้เลือกไม่มาก กล่าวคือ ต้องเป็นอาจารย์ที่นั่นแหละคะ) แต่เงินเดือนจะไม่สูงมาก ตกที่ประมาณ 20,000 NOK ต่อเดือน ( อันนี้เพิ่งถามเพือนคนจีนที่เรียนป.เอกอยู่ ) จนกว่าจะไ้ด้เป็นอาจารย์ เงินเดือนจะมากกว่านี้คะ
หากพี่คิดว่าขอวีซ่าแบบนักเรียนไม่ทันแล้ว จีว่าพี่มาแบบวีซ่าแต่งงานแล้วมาสมัครเรียนที่หลังหรือขอทุนเรียนเป็นลักษณะ Loan ก็ได้นะคะ เพื่อนๆ จีที่เรียนด้วยกันที่ห้อง เขาก็แต่งงานกันมาแล้วมาเรียนกันก็หลายคนนะคะ รักข้ามขอบฟ้าจริงๆ
|
|
Oslo --- ธรรมชาติของจิตใจมันเข้าข้างตัวเอง โบราณพูดว่า เรามักจะเห็นความผิดของคนอื่นเท่าภูเขา ความผิดของตนเท่ารูเข็ม มันเป็นความจริงอย่างนั้นด้วย เราจึงต้องระวังความรู้สึกนึกคิดของตัวเองให้มาก ๆ
|
 |
POMPOM
Senior Member
Joined: 27 Aug 2010
Location: Oslo/Holmestran
Online Status: Offline
Posts: 291
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 03 Sep 2010 at 09:00 - IP: 124.120.97.1  |
น้องจี ที่เคารพชอบคุณมากค่า สำหรับอะไรต่ออะไรมากมาย
วันหลังต้องขอหลังไมค์ ไม่ดีกว่าอีกสองอาทิตย์ไ ปหาเลย
พี่ป้อมไปถึงวันที่ 15 เช้าค่ะ ถ้าบ่ายอาจแวะไป BI หลังจากนั้น
ก้อตระเวนเยี่ยมผู้ใหญ่ 5555 (บอกตัวเองว่าท่องไว้นังป้อม ว่าแกต้องเรียบร้อย)
แล้วไป cruise trip กับเฮีย 20-22 ค่ะ แล้วเราจะเจอกันมั้ยเนี่ย 
|
|
Every sunset gives you one day less to live , Every sunrise always gives you one day more for hope
|
 |
greatlyjeeth
Senior Member
Joined: 03 Jan 2011
Location: Bangkok
Online Status: Offline
Posts: 179
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 06 Jan 2011 at 00:15 - IP: 124.121.163.64  |
เข้ามาเก็บข้อมูลเรื่องการเรียนต่อ แล้วเพิ่งเห็นว่าพี่ป้อมจบที่เดียวกับ Jee เลยค่ะ
ป.ตรี มช. ป.โท ม.เกษตร เจอทั้งรุ่นพี่มหาวิทยาลัยแถมยังเป็นรุ่นพี่สะใภ้นอร์เวย์อีก ดีใจจังค่ะ
Jee
(ขอเป็นน้องจี 2 แล้วกันนะคะ ชื่อเหมือนกัน )
|
|
|
 |
POMPOM
Senior Member
Joined: 27 Aug 2010
Location: Oslo/Holmestran
Online Status: Offline
Posts: 291
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 06 Jan 2011 at 23:28 - IP: 115.87.85.7  |
เอาเป็นว่าต้องมาคารวะน้ำชารุ่นพี่นะจ๊ะ อิอิ ตอนนี้มีน้องจี 1 เป็นน้องสาวแล้ว ยินดีรับรับเพิ่มอีกไม่อั้นจ้า มาช่วยกันปลุกภาพพจน์สาวไทยกันนะตัวเอง
|
|
Every sunset gives you one day less to live , Every sunrise always gives you one day more for hope
|
 |
greatlyjeeth
Senior Member
Joined: 03 Jan 2011
Location: Bangkok
Online Status: Offline
Posts: 179
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 06 Jan 2011 at 23:48 - IP: 124.121.162.179  |
คาราวะคุณย่าทวด 
จีต้องไปยกน้ำชาให้พี่ป้อมที่เมืองไหนคะ จีจะไปอยู่ที่ Fredrikstad ค่ะ (แต่ยังไม่รู้ว่าจะได้ไปเมื่อไหร่เลย รอวีซ่า Residence อีกยาวนานเหลือเกิน )
|
|
|
 |
POMPOM
Senior Member
Joined: 27 Aug 2010
Location: Oslo/Holmestran
Online Status: Offline
Posts: 291
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 06 Jan 2011 at 23:58 - IP: 115.87.85.7  |
อยู่ Hamar คับผมเป็นเมืองเล็กเล็กใน Hedmark
แต่ก้ออยู่ออสโลด้วยห่างจากออสโลประมาณ 150 กม. ถ้าย้ายไปตอนแรก
คงไปเรียนภาษาที่ Hamar ก่อนเพราะที่ออสโลอยู่ในเรือจ้า กำลังดูดูบ้าน
ใกล้ออสโลอยู่เพราะว่าจะได้มีที่อยู่ตอนไปเรียนเดือนสิงหาคมอ่ะคับ
จริงจริงอยากอยู่ในเรือแต่สามีกลัวว่า ferry มันเปลี่ยนรอบบ่อย จะไม่ทันเรียน
แล้วเจอกันนะจ๊ะ
|
|
Every sunset gives you one day less to live , Every sunrise always gives you one day more for hope
|
 |
Apple46
Senior Member
Joined: 06 Sep 2010
Location: Thailand
Online Status: Offline
Posts: 208
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 28 Apr 2011 at 02:47 - IP: 223.205.39.127  |
โห พอไม่ได้ทำงานเพิ่งมีเวลามานั่งอ่าน ได้ความรู้เพิ่มขึ้นเยอะเลย พี่ๆน่ารักจังเลยนะคะ มาช่วยกันตอบ ตอนแรกเปิ้ลเข้าใจว่าไม่ยุ่งยากอะไรใช้วุฒิเรากับคะแนน TOEIC ก็น่าจะหางานที่เป็น international company ที่นั่นได้ สงสัยต้องเรียนต่อโทซะแล้ว
|
|
ple_pi-ohm46
|
 |
Geegie
Senior Member
Joined: 02 Apr 2010
Online Status: Offline
Posts: 284
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 30 Apr 2011 at 20:59 - IP: 84.208.97.168  |
ถ้าไม่เบื่ออาชีพนักเรียน ก็แนะนำให้สมัครขอวีซ่าและสมัครเรียนไปพร้อมกันเลยค่ะ  ปัญหาการหางานที่นี่มีสองปัญหาใหญ่ๆ ที่เจอกับตัวเอง และได้ยินคนอื่นพูดถึง ๑. ปัญหาเรื่องภาษา หากมองหางานที่ไม่เกี่ยวของกับต่างประเทศเลย ต้องพูดภาษานอรเวย์ได้ ๒. หากมองหางานใน International company เ้น้นใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานมากกว่าภาษานอรเวย์ ก็จะมีปัญหาที่สองคือเรื่องสถาบันการศึกษาที่ยอมรับได้ คำว่ายอมรับได้ในที่นี้ คนนอรเวย์เขายอมรับแต่มหาลัยบ้านเค้าค่ะ มีเคสว่ามีนักเรียนสองคน จบวิศวะจาก MIT กับอีกคนจบจาก NTNU ที่ทรอนด์ไฮม์ เรียนเกรดดีเหมือนกัน ศักยภาพต่างๆ คล้ายๆ กัน เค้าเลือกนักเรียนที่จบมหาลัยบ้านเค้าน่ะค่ะ เป็นที่น่าเสียดายที่ประเทศนี้ไม่ค่อยเปิดรับเรื่องการศึกษาจากประเทศอื่น เพิ่งไปอบรมเืมื่อวันพุธที่ผ่านมา คนนอรเวย์เป็นคนบรรยาย เขาก็ยังเน้นปัญหาเรื่องสถาบันการศึกษาให้ฟังค่ะ
เพราะฉะนั้นหากยังไม่เหนื่อยจะเรียน ก็แนะว่าให้เรียน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ได้หมายความว่าหากไม่เรียนก็ไม่มีทางหางานทำดีๆ ได้นะคะ ต้องดูองค์ประกอบหลายๆ อย่างประกอบกัน
|
|
Oslo --- ธรรมชาติของจิตใจมันเข้าข้างตัวเอง โบราณพูดว่า เรามักจะเห็นความผิดของคนอื่นเท่าภูเขา ความผิดของตนเท่ารูเข็ม มันเป็นความจริงอย่างนั้นด้วย เราจึงต้องระวังความรู้สึกนึกคิดของตัวเองให้มาก ๆ
|
 |
Geegie
Senior Member
Joined: 02 Apr 2010
Online Status: Offline
Posts: 284
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 30 Apr 2011 at 21:05 - IP: 84.208.97.168  |
นอร์เวย์ประเทศน่าอยู่ที่สุด เลือกเรียนภาษาอังกฤษได้ http://campus.sanook.com/education/oversea/read_04837.php มองการจัดอันดับประเทศจากความเจริญในด้านต่าง ๆ จะเห็นนอร์เวย์เกาะกลุ่มประเทศที่มีคุณภาพชีวิตดีที่สุดในโลกเสมอ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติระบุว่า นอร์เวย์ได้รับการจัดอันดับเป็นประเทศน่าอยู่ที่สุดติดต่อกันมาหลายปี

ขณะเดียวกัน รายงานระบุด้วยว่า นอร์เวย์ครองแชมป์ประเทศที่น่าเลี้ยงดูเด็กให้เติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ อีกทั้งได้รับเลือกอยู่อันดับต้น ๆ ในการจัดอันดับประเทศที่ประชาชนมีความสุขมากที่สุด แถมยังเป็นประเทศหนึ่งที่มีความสงบสุขมากที่สุด
คณะกรรมการตัดสินพิจารณาจากปัจจัยด้านเงินเดือน เศรษฐกิจและสังคม การศึกษาที่ให้เรียนฟรีตั้งแต่ชั้นก่อนอนุบาลจนถึงหลังปริญญาตรี และมีเงินกู้เพื่อการศึกษามากกว่าในอังกฤษ ปัจจัยเหล่านี้ส่งเสริมความเท่าเทียมกันของประชากร ลดความเหลื่อมล้ำของรายได้ คุณภาพชีวิตและสังคมที่ดีเหนือประเทศพัฒนาแล้วด้วยกัน นอร์เวย์จึงเป็นประเทศน่าอยู่ด้วยประการฉะนี้
มีข้อน่าสังเกตว่า เวลามีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยระดับโลก (The Academic Ranking of World Universities) จัดทำโดยสถาบันอุดมศึกษาของ Shanghai Jiao Tong University จะเห็นว่ามหาวิทยาลัยในนอร์เวย์ยังคงห่างชั้นจากความเป็นสุดยอดมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในนอร์เวย์ คือ University of Oslo รั้งอันดับ 64 ในปีนี้ และการจัดอันดับตั้งแต่ปี 2003 จนถึงปัจจุบัน ยังไม่เคยไต่สูงกว่าอันดับ 63 เลย อันดับที่ได้อยู่ในเกณฑ์ดีก็จริง แต่ถือว่ายอดเยี่ยมคงไม่ได้
วิเคราะห์กันว่า อาจเป็นเพราะการจัดอันดับมหาวิทยาลัยมักจะให้คะแนนเน้นหนักไปที่ผลงานวิจัย อย่างไรก็ตาม ชื่อเสียงด้านงานวิจัยกับเรื่องสอนดีน่าเรียน เป็นคนละเรื่องกัน มหาวิทยาลัยชั้นนำในนอร์เวย์อาจจะไม่มีผลงานวิจัยทางวิชาการโดดเด่น แต่คุณภาพการเรียนการสอนเข้มข้น มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ และถือว่าทรงอิทธิพลในสังคมประเทศนอร์เวย์เป็นอย่างมาก
พูดเรื่องการเรียนการสอน สถาบันส่วนใหญ่สอนโดยใช้ภาษานอร์วิเจียน เป็นวิชาบังคับในหลักสูตร และบังคับให้นักศึกษาเรียนภาษาอังกฤษด้วย

หากผู้สมัครรู้ภาษานอร์วิเจียนเพียงเล็กน้อย มีโอกาสเข้าเรียนได้ เพียงแต่จะมีสถาบันให้เลือกในจำนวนจำกัด จึงมีข้อกำหนดให้นักศึกษาต่างชาติเรียนภาษานอร์วิเจียนก่อน 1 ปี แล้วจึงเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย
ปัจจุบันตลาดการศึกษามีการแข่งขันสูง มหาวิทยาลัยแข่งกันแย่งตัวนักศึกษา โดยเฉพาะชาวต่างชาติ ทำให้มีการเปิดหลักสูตรสอนเป็นภาษาอังกฤษมากขึ้น
มหาวิทยาลัยเก่าแก่และมีขนาดใหญ่ที่สุดในนอร์เวย์อย่าง University of Oslo ปัจจุบันมีจำนวนนักศึกษาประมาณ 30,000 คน เปิดหลักสูตรใช้ภาษาอังกฤษกว่า 800 หลักสูตร และระดับปริญญาโทมากกว่า 40 หลักสูตร
ระดับปริญญาโท เรียน 1-2 ปี มีดังนี้ Economics and Law Economics, Environmental and Development Economics, Information and Communication Technology Law, Maritime Law, Marine Insurance and Risk Management, Public International Law, Theory and Practice of Human Rights Education Comparative and International Education, Higher Education, Higher Education-Erasmus Mundus, Special Needs Education Health Sciences Health Economics, Policy and Management, International Community Health History, Philosophy and Culture Studies Chinese Studies, East Asian Studies, Nordic Viking and Medieval Culture, Tibetan Studies Information Technology and Informatics Electronics and Computer Technology, Information Systems, Innovation and Entrepreneurship Language and Literature East Asian Linguistics, English language, Ibsen studies Mathematics, Natural Science and Technology Astronomy, Biology, Chemistry, Computational Science and Engineering, Geosciences, Materials, Energy and Nanotechnology, Mathematics, Modelling and Data Analysis, Molecular Biology, Biochemistry and Physiology, Physics, Physics of Geological Processes Media Studies Media studies Religion and Theology Intercontextual Theology Social Sciences and Psychology Development Geography, Peace and Conflict Studies, Culture, Environment and Sustainability

สำหรับนักศึกษาไทยที่จะศึกษาระดับอุดมศึกษาในนอร์เวย์ ควรที่จะศึกษาระดับอุดมศึกษาปีที่ 1 ของไทยก่อน หรือจบปริญญาตรีแล้ว จึงสามารถสมัครเข้าศึกษาต่อปริญญาโทในนอร์เวย์ได้ มีผลสอบ TOEFL 550 ขึ้นไป หรือ IELTS 6.0
สอบถามรายละเอียดที่ International Education Office PO Box 1081 Blindern, NO-0317 Oslo Norway E-mail: informasjon@uio.no www.uio.no/english/
|
|
Oslo --- ธรรมชาติของจิตใจมันเข้าข้างตัวเอง โบราณพูดว่า เรามักจะเห็นความผิดของคนอื่นเท่าภูเขา ความผิดของตนเท่ารูเข็ม มันเป็นความจริงอย่างนั้นด้วย เราจึงต้องระวังความรู้สึกนึกคิดของตัวเองให้มาก ๆ
|
 |
greatlyjeeth
Senior Member
Joined: 03 Jan 2011
Location: Bangkok
Online Status: Offline
Posts: 179
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 04 May 2011 at 14:47 - IP: 124.122.8.194  |
Originally posted by Geegie
ถ้าไม่เบื่ออาชีพนักเรียน ก็แนะนำให้สมัครขอวีซ่าและสมัครเรียนไปพร้อมกันเลยค่ะ 
ปัญหาการหางานที่นี่มีสองปัญหาใหญ่ๆ ที่เจอกับตัวเอง และได้ยินคนอื่นพูดถึง
๑. ปัญหาเรื่องภาษา หากมองหางานที่ไม่เกี่ยวของกับต่างประเทศเลย ต้องพูดภาษานอรเวย์ได้
๒. หากมองหางานใน International company เ้น้นใช้ภาษาอังกฤษในการทำงานมากกว่าภาษานอรเวย์ ก็จะมีปัญหาที่สองคือเรื่องสถาบันการศึกษาที่ยอมรับได้ คำว่ายอมรับได้ในที่นี้ คนนอรเวย์เขายอมรับแต่มหาลัยบ้านเค้าค่ะ มีเคสว่ามีนักเรียนสองคน จบวิศวะจาก MIT กับอีกคนจบจาก NTNU ที่ทรอนด์ไฮม์ เรียนเกรดดีเหมือนกัน ศักยภาพต่างๆ คล้ายๆ กัน เค้าเลือกนักเรียนที่จบมหาลัยบ้านเค้าน่ะค่ะ เป็นที่น่าเสียดายที่ประเทศนี้ไม่ค่อยเปิดรับเรื่องการศึกษาจากประเทศอื่น เพิ่งไปอบรมเืมื่อวันพุธที่ผ่านมา คนนอรเวย์เป็นคนบรรยาย เขาก็ยังเน้นปัญหาเรื่องสถาบันการศึกษาให้ฟังค่ะ
เพราะฉะนั้นหากยังไม่เหนื่อยจะเรียน ก็แนะว่าให้เรียน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่ได้หมายความว่าหากไม่เรียนก็ไม่มีทางหางานทำดีๆ ได้นะคะ ต้องดูองค์ประกอบหลายๆ อย่างประกอบกัน | น้องจี-Oslo อ่านแล้วกำลังภายในหดไปเลย เริ่มหนาวสันหลัง ตอนนี้ยังไม่ได้ย้ายไปนอร์เวย์เลย พี่ก็เน้นภาษานอร์ซอย่างกับจะสอบเอ็นทรานซ์ มาเจอเคสมหาวิทยาลัยเข้าไปอีก สงสัยต้องเรียนกันจนแก่แหง๋ๆ สู้ๆครับพี่น้อง
Jee 
|
|
|
 |
Geegie
Senior Member
Joined: 02 Apr 2010
Online Status: Offline
Posts: 284
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 04 May 2011 at 14:53 - IP: 84.208.97.168  |
อย่างที่เขียนไว้ที่ประโยคสุดท้ายค่ะ ไม่ได้เรียนก็ใช่ว่าจะไม่มีโอกาสได้งาน ดังนั้นอยู่ที่เรามากกว่าว่าเราอยากจะใช้ชีวิตแบบไหน บางคนเขาก็ได้งานที่อยากทำโดยที่ไม่ต้องเรียนในระดับมหาลัยหรือเรียนภาษากันจนแก่ เพราะว่ามีประสบการณ์ทำงานมาจากเมืองไทยแล้ว มันแล้วแต่ว่าเราเจอโอกาสแบบไหนด้วยค่ะพี่จี ไม่ต้องเครียด
|
|
Oslo --- ธรรมชาติของจิตใจมันเข้าข้างตัวเอง โบราณพูดว่า เรามักจะเห็นความผิดของคนอื่นเท่าภูเขา ความผิดของตนเท่ารูเข็ม มันเป็นความจริงอย่างนั้นด้วย เราจึงต้องระวังความรู้สึกนึกคิดของตัวเองให้มาก ๆ
|
 |
greatlyjeeth
Senior Member
Joined: 03 Jan 2011
Location: Bangkok
Online Status: Offline
Posts: 179
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 06 May 2011 at 00:18 - IP: 124.121.164.139  |
เป้าหมายมีไว้พุ่งชนน่ะน้องจี เดินหน้ากันต่อไป
|
|
|
 |
benzy
Senior Member
Joined: 26 Nov 2009
Location: Bergen
Online Status: Offline
Posts: 1740
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 16 May 2011 at 23:14 - IP: 88.90.172.53  |
มีข้อมูลมาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเรียนต่อระดับปริญญาตรีที่นอร์เวย์หลังจากจบ ม.ปลายที่เมืองไทยแล้ว วันนี้เบ็นซ์คุยกับทาง NUKUT เลยทราบข้อมูลเพิ่มเติมว่าถ้าเราจบม.ปลายที่เมืองไทยแล้วต้องการศึกษาต่อที่นอร์เวย์หลังเทียบวุฒิแล้วเราจะต้องเรียนบางวิชาเพิ่มเติมก่อน สมัครเข้าเรียนมหาวิยาลัย ได้นะค่ะ
|
|
Benz,Bergen,1979
|
 |
Sweetiemind
Senior Member
Joined: 28 Nov 2009
Location: Norway
Online Status: Offline
Posts: 8644
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 17 May 2011 at 05:25 - IP: 85.252.171.55  |
ลืมเอามาแปะห้องนี้ ตอนนี้หมดเขตรับสมัครแล้ว แต่รอดูปีต่อไปนะคะ เป็นหลักสูตรที่น่าเรียนมาก เรียนแค่ปีเดียวเอง
ดูตามลิ้งค์ค่ะ
Master of Science in Logistics and Supply Chain ManagementMolde University College, Specialized University in Logistics
Programme website |
http://www.himolde.no (Opens in new window) |
Contact (person and/or unit) |
Nina Hægbostad Adviser/ International Coordinator Exchange Programmes Office of the Director of Studies and Academic Affairs Molde University College, Specialized University in Logistics |
Telephone |
(+47) 71 21 41 05 |
Email |
Nina.hagbostad@HiMolde.no |
Programme duration |
12 months (3 intensive semesters) |
Programme description |
The MSc programme in Logistics and Supply Chain Management at the University of Westminster, London, UK is developed in collaboration with the 3 partner institutions: Arnhem Business School, Arnhem (the Netherlands), ESIDEC, Metz (France) and Molde University College, Specialized University in Logistics.
Study Plan 1st semester at the University of Westminster: All the students complete the following compulsory courses: Logistics and the External Environment, Logistics Management, Planning and Policy, Statistics and Operational Research for Logistics.
In the second semester students choose to study at the institution offering the specialisation in which they are most interested:
2nd semester at Arnhem Business School, Arnhem, the Netherlands: Export Management, Finance and Management, Marketing and Distribution
2nd semester at ESIDEC, Metz, France: Logistics Strategy, Enterprise Resource Planning and Supply Management, Measurement and Assessment of Logistics Performance, ASLOG Logistics Audit Reference, E-Business, Strategic Outsourcing Management, Purchasing Management, Purchasing and Value Analysis, Services Purchasing
2nd semester at Molde University College, Specialized University in Logistics, Molde, Norway: International Shipping, Logistics Management
2nd semester at University of Westminster, London, UK Freight Transport and Logistics Services, Retail Supply Chain Management plus one optional course from: Airline Planning and Management, Airport Planning and Management, Land-Use and Transport, Public Passenger Transport, Traffic in Urban Areas.
3rd semester: In the third semester students complete a 3-4 months dissertation that will be submitted in September.
Students who have successfully completed all the 3 semesters will graduate with a MSc in Logistics and Supply Chain Management from the University of Westminster, London, UK.
The one year MSc programme in Logistics and Supply Chain Management at the University of Westminster does not qualify the graduates to directly apply for admission to the 3 years PhD programme in Logistics at Molde University College, Specialized University in Logistics. However, graduates who are interested in continuing their studies at our PhD programme, will still have the possibility to qualify for PhD admission by first completing additional courses of minimum 30 ECTS credits (one additional semester)beyond the MSc programme of 90 ECTS credits. |
Application deadline |
1 May 2011. Applications can be forwarded directly to the University of Westminster, London, UK from 1 January 2011 onwards. Conditional offers of admission might be given to well qualified applicants between 1 January and 1 May 2011. Students with conditional offers will, however, be asked to confirm their interest of a seat at the programme in May/June. We underline that international applicants applying directly from abroad should not apply to Molde University College, Specialized University in Logistics, but contact the University of Westminster directly for further information about admission to the MSc programme, application form and the payment of tuition fees. |
Nokut certification |
No (What is this?)
NOKUT (Norwegian Agency for Quality Assurance in Education) NOKUT is an independent state body whose purpose is to safeguard and develop the quality of Norwegian higher educational institutions. This is done through evaluation, accreditation and recognition of quality systems, institutions and study programmes. Only courses that are accredited or recognised by NOKUT, or are accredited as a result of the institution's blanket accreditation, have the right to be called "higher education". More information about NOKUT: www.nokut.no |
Formal prerequisites |
Applicants should have completed a recognised first degree at bachelor's level of minimum 3 years duration. Priority is given to applicants with a first degree in logistics, management, business, economics, transportation or geography. However, applicants with qualifications in other disciplines such as languages, humanities, engineering, and environmental sciences can also be considered for admission. Relevant professional experience will also be considered. Applicants must fulfill the formal English language requirement (TOEFL, IELTS test) to be admitted. Please contact University of Westminster, London, UK, for information about the minimum score requirements for TOEFL/ IELTS test. |
Tuition |
Norwegian and international students who have been admitted to the international MSc programme in Logistics and Supply Chain Management is required to pay full tuition fees to the University of Westminster at the beginning of the 1st semester (currently approx. GBP 10-11 000). The tuition fee covers the whole program, regardless of where the admitted student choose to spend the 2nd and 3rd semester. |
Subject area |
Business Studies/Management Science |
Degree level |
Master |
City |
London (UK), Arnhem (the Netherlands), Metz (France), Molde (Norway) |
Credits |
90 ECTS credits (One year intensive programme - 3 semesters) |
Language of teaching |
English |
Application procedures |
Norwegian citizens and other applicants who have a valid permanent residence permit in Norway, can contact our International Coordinator for Exchange Programmes; Nina Hægbostad to obtain the application form and further information about how to apply. However, we underline that international applicants to the MSc programme in Logistics and Supply Chain Management should contact University of Westminster, London, UK directly for information about admission, application form and the payment of tuition fees. International applicants are requested to contact Professor Mike Browne at University of Westminister (www.wmin.ac.uk) directly, and not forward requests for information about admission, application form and the required tuition fees to Molde University College, Specialized University in Logistics.
|
Edited by Sweetiemind - 17 May 2554 at 05:57
|
|
มาย Molde / 1976
Alt for foreldrene mine!
เราทำถูก...กิเลสเขา...เขาก็ว่า...เราดี! เราไม่ทำถูก...กิเลสเขา...เขาก็ว่า...เราไม่ดี!
อย่าสูญเสีย "ตัวตน" ด้วยคำพูดของคนที่ไม่รู้จัก "ตัวเรา"
|
 |
Geegie
Senior Member
Joined: 02 Apr 2010
Online Status: Offline
Posts: 284
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 17 May 2011 at 05:53 - IP: 84.208.97.168  |
เป็นสาขาที่น่าสนใจมากๆค่ะ เพราะประเทศนี้นอกจากจะดังเรื่อง ปิโตรเคมี แล้ว ยังเป็น Hub ของ Shipping and Logistics
|
|
Oslo --- ธรรมชาติของจิตใจมันเข้าข้างตัวเอง โบราณพูดว่า เรามักจะเห็นความผิดของคนอื่นเท่าภูเขา ความผิดของตนเท่ารูเข็ม มันเป็นความจริงอย่างนั้นด้วย เราจึงต้องระวังความรู้สึกนึกคิดของตัวเองให้มาก ๆ
|
 |
Sweetiemind
Senior Member
Joined: 28 Nov 2009
Location: Norway
Online Status: Offline
Posts: 8644
|
Post Options
Quote Reply
Posted: 17 May 2011 at 05:56 - IP: 85.252.171.55  |
Originally posted by Geegie
เป็นสาขาที่น่าสนใจมากๆค่ะ เพราะประเทศนี้นอกจากจะดังเรื่อง ปิโตรเคมี แล้ว ยังเป็น Hub ของ Shipping and Logistics |
ใช่ค่ะน้องจี น้องแคทเขาสนใจถามพี่มานานแล้ว พี่ลืมเอามาแปะบอกสาวๆบ้านนี้ บางเทอมเรียนที่ Molde ด้วย น่าสนใจมากๆ
|
|
มาย Molde / 1976
Alt for foreldrene mine!
เราทำถูก...กิเลสเขา...เขาก็ว่า...เราดี! เราไม่ทำถูก...กิเลสเขา...เขาก็ว่า...เราไม่ดี!
อย่าสูญเสีย "ตัวตน" ด้วยคำพูดของคนที่ไม่รู้จัก "ตัวเรา"
|
 |